http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

โครงการสร้างเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ลุ่มน้ำลำพระเพลิง)


ชื่อโครงการ : โครงการสร้างเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ลุ่มน้ำลำพระเพลิง)
ชื่อองค์กร : เครือซิเมนต์ไทย(SCG)
เกี่ยวกับองค์กร :
เว็บไซต์ :
วัตถุประสงค์ : ปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหวงแหน ในภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับเยาวชน ด้วยการร่วมมือกับนักพัฒนาชุมชน ครู และชาวบ้าน รวบรวมความรู้ จัดทำเป็น ?หลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น? ที่เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิต ของคนในชุมชน
สถาที่ : ชุมชนรอบลุ่มน้ำลำพระเพลิง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
รูปแบบโดยย่อ :
มูลนิธิซิเมนต์ไทยให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่คณะทำงานเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ท้องถิ่น ตัวแทนครูจากโรงเรียน 10 แห่ง และสมาชิกชุมชนรอบลุ่มน้ำลำพระเพลิง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จัดทำโครงการสร้างเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
รายละเอียด :

มูลนิธิซิเมนต์ไทยห่วงใยถึงสถานการณ์การพัฒนาประเทศที่ไม่สมดุลระหว่างความเจริญ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ กับสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการวางแผนและการสร้างทดแทน จึงมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหวงแหน ในภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับเยาวชน ด้วยการร่วมมือกับนักพัฒนาชุมชน ครู และชาวบ้าน รวบรวมความรู้ จัดทำเป็น ?หลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่น? ที่เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิต ของคนในชุมชน พร้อมถอดบทเรียนถึงวิธีการรวมตัว กระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ร่วมกันของชาวบ้าน เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบให้กับชุมชนท้องถิ่นอื่น ๆ การดำเนินงาน มูลนิธิซิเมนต์ไทยให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่คณะทำงานเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ท้องถิ่น ตัวแทนครูจากโรงเรียน 10 แห่ง และสมาชิกชุมชนรอบลุ่มน้ำลำพระเพลิง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จัดทำโครงการสร้างเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ลุ่มน้ำลำพระเพลิง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

ซึ่งการดำเนินโครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สร้างกระบวนการเรียนรู้ (พ.ศ. 2548) ระยะนี้เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายในชุมชนที่เกี่ยวข้องได้แก่ โรงเรียน วัด ผู้นำทางความคิด นักวิชาการด้านการอนุรักษ์ เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น โดยรวบรวมองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และ นำเยาวชนมาเข้าค่ายเป็นระยะ ๆ รวมถึงมอบหมายให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 10 โรงเรียน ถอดประสบการณ์จากกิจกรรมจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้กับนักเรียน ระยะที่ 2 เผยแพร่ความรู้สู่ภายนอก (พ.ศ. 2549) ภายหลังจากที่ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยจัดทำเป็นหลักสูตรนำร่องและทดลองใช้เป็นบทเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการ พบว่า หลักสูตรการเรียนรู้ท้องถิ่นทำให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจถึงพื้นฐานความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่น บทบาทและความสัมพันธ์ของชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์อย่างลึกซึ้ง จนนักเรียนเกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาในท้องถิ่นตนเอง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนอื่น ๆ

สนใจติดต่อขอนำหลักสูตรดังกล่าวไปบรรจุไว้ในบทเรียน ซึ่งในระยะที่ 2 นี้ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มเป็น 16 โรงเรียน มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 800 คน ผู้นำชุมชน 30 คน และแกนนำเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา 30 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาสู่ความยั่งยืน (พ.ศ. 2550-2551) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบ มูลนิธิซิเมนต์ไทยแบ่ง การสนับสนุนระยะการพัฒนาสู่ความยั่งยืนออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) การสนับสนุนกระบวนการพัฒนาแกนนำเยาวชนให้เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนอื่น ๆ ในการปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์และหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น 2) การสนับสนุนงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือคู่มือเสริมสาระการจัดการการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่อง ?ชุมชนกับการจัดการป่าชุมชนบ้านท่าวังไทร? และ ?การอนุรักษ์กระทิงที่เขาแผงม้า เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนเขตพื้นที่ต้นน้ำมูลตอนบน-ลำพระเพลิง รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือคู่มือศึกษาธรรมชาติเรื่อง การกลับมาของกระทิงน้อยแห่ง พื้นป่าเขาแผงม้า? ซึ่งมูลนิธิซิเมนต์ไทยมอบหนังสือจำนวน 2,000 เล่ม ให้คณะทำงานเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ท้องถิ่นนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมอบรมเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พร้อมมอบรายได้จากการจำหน่ายหนังสือทั้งหมดให้คณะทำงานเครือข่าย ฯ นำไปเป็นเงินตั้งต้นจัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น

สรุปผล :
โครงการสร้างเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ลุ่มน้ำลำพระเพลิง) สามารถผลิตหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์และหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับเด็กและเยาวชน ในพื้นที่ นอกจากนี้หนังสือคู่มือในการใช้อบรมให้ความรู้และหนังสือศึกษาธรรมชาติ ?การกลับมาของกระทิงน้อยแห่งผืนป่าเขาแผงม้า? ยังเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันจะส่งผลให้เกิด การตระหนักรู้ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในวงกว้างและสิ่งแวดล้อมต่อไ

aphondaworathan