โครงการเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์
จัดส่งความช่วยเหลือออกเป็น 3ระดับคือ 1.การช่วยเหลือเร่งด่วน ซึ่งได้แก่ เงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆในเบื้องต้น2.การช่วยเหลือระยะฟื้นฟูอาชีพ เป็นการสนับสนุนเงินทุนเพื่อฟื้นฟูอาชีพ3.การช่วยเหลือระยะพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินศักยภาพชุมชน
การดำเนินงาน การช่วยเหลือเร่งด่วน (มกราคม พ.ศ.2548) SCG เป็นองค์กรลำดับแรก ๆ ที่เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยการบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านบาทแก่รัฐบาล และจัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น รวมทั้งส่งพนักงาน SCG สำนักงานใกล้เคียงพื้นที่ประสบภัยไปช่วยต่อโลงศพ นอกจากนั้นยัง สร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 แห่งสำหรับใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดพังงา การช่วยเหลือระยะฟื้นฟูอาชีพ (พ.ศ. 2548) หลังจากสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัย กองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ ภายใต้การบริหารงานของมูลนิธิซิเมนต์ไทย พบว่า ผู้ประสบภัยต้องการวิถีความเป็นอยู่และอาชีพกลับคืนมา เนื่องจากเรือและอุปกรณ์การประมงชายฝั่งหรือประมงขนาดเล็กที่เป็น อาชีพหลักของผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ซึ่งมีฐานะยากจน ตลอดชายฝั่งอันดามันได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด กองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ จึงได้ตกลงสนับสนุนทางด้านการเงินในลักษณะกองทุนหมุนเวียนและเรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อจัดตั้งอู่ซ่อมสร้างเรือและเครื่องมือประมง ซึ่งมีการบริหารและจัดการโดยชุมชนเองภายใต้การดูแลของคณะกรรมการกองทุน เครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน (SAVE ANDAMAN NETWORK: SAN) การช่วยเหลือระยะพัฒนาที่ยั่งยืน (พ.ศ.2549-2550) หลังจากที่ประชาชนได้รับการฟื้นฟูอาชีพตามแผนที่ได้วางไว้ เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ต้นปี พ.ศ. 2549
คณะกรรมการกองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าของดำเนินงานอู่ซ่อมสร้างเรือและเครื่องมือประมง ที่ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2548 อันเป็นการช่วยเหลือใน ?ระยะฟื้นฟูอาชีพ? และพิจารณาแผนงานฟื้นฟูผู้ประสบภัยที่เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามันเสนอขอการสนับสนุน ใน ?ระยะพัฒนาที่ยั่งยืน? ร่วมกับชาวบ้าน หลังจากคณะกรรมการกองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ ประชุมหารือร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชุนชายฝั่งอันดามัน ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน โดยได้จัดทำ ?ตัวชี้วัดเพื่อประเมินศักยภาพของชุมชน? โดยดูจากการจัดการกองทุนหมุนเวียน ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 4 ระดับ ตามความสามารถในการบริหารจัดการกองทุน คือ ระดับดี ระดับ ปานกลาง ระดับต่ำ และระดับยังไม่มีศักยภาพ* พ.ศ 2550
ในเบื้องต้นกองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ ได้ให้ความช่วยเหลือเฉพาะกองทุนหมุนเวียนที่มีการบริหารจัดการในระดับดีก่อน โดยมุ่งเน้นใน 4 เรื่องด้วยกัน คือ 1.การพัฒนาอู่ซ่อมสร้างเรือชุมชนให้เป็นอู่ถาวร 2.การพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงและการออมทรัพย์ชุมชน 3.การสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันรักษาทะเลและทรัพยากรชายฝั่ง 4.การสนับสนุนและพัฒนาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม การช่วยเหลือในระยะนี้จะเป็นเงินที่ผู้ประสบภัยได้ใช้คืนกองทุนหมุนเวียนบางส่วน และเงินที่คณะกรรมการกองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์เพิ่มเติมให้ เพื่อเป็น การสร้างกำลังใจให้คณะกรรมการและสมาชิกของกองทุนหมุนเวียนที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน จนกองทุนมีสถานะการคืนทุนและมีการบริหารจัดการที่ดีมาก เพื่อเป็นตัวอย่างและกระตุ้นให้กองทุนหมุนเวียนในระดับอื่น ๆ ได้พัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนของตน นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือกองทุนหมุนเวียนที่มีการบริหารจัดการที่ดีแล้วกองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ยังได้อนมุติในหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือชุมชนอื่น ๆ ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนมาก่อน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมที่ดีเป็นพิเศษ ทั้งด้านการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชน อีกด้วย
จากการถอดบทเรียนโดยเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามันและชาวบ้าน พบว่า การจัดตั้งกองทุนเครือซิเมนต์ไทยฟื้นฟูผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันใน สองระดับ ได้แก่ การรวมตัวของชุมชนหรือชาวบ้าน และ การรวมตัวขององค์กรภาคธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ผลที่เกิดจากการรวมตัวกันของชุมชนหรือชาวบ้าน 1.ทักษะการบริหารจัดการของชาวบ้าน จากการรวมตัวกันของชาวบ้านทำให้เกิดทักษะในการบริหารจัดการ 2 ลักษณะ ด้วยกัน ได้แก่ - เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม อันสะท้อนประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน มีการแลกเปลี่ยนความเห็น ตรวจสอบกันเองภายในกลุ่ม - ชาวบ้านเรียนรู้วิธีที่จะบริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน เกิดการเรียนรู้การ ทำธุรกิจชุนชมตามแนวทางของตน และการทำบัญชีอย่างเหมาะสม 2. การพึ่งตนเองของชุมชนและสวัสดิการในชุมชน จากผลกำไรที่ได้รับจากการดำเนินงานการกองทุนต่าง ๆ ชาวบ้านได้ตกลงร่วมกัน ที่จะแบ่งผลกำไรส่วนหนึ่งมาเป็นสวัสดิการชุมชน เรียนรู้ที่จะดูแลกันเองภายในชุมชน ชีวิตอย่างมีความสุขภายในชุมชนของตนเอง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนว่าชาวบ้านได้ ตระหนักในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น 3.การรวมตัวกันดูแลทรัพยากรและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม