โครงการทองผาภูมิตะวันตก
ปตท.ทำการวิจัยศึกษาทั้งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในการร่วมกันดูแลรักษาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป จากการเรียนรู้และร่วมมือของชุมชน โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฏีใหม่เข้ามาใช้
ปตท. ดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่า 30,000 ไร่ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ตามพันธะสัญญา EIA โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-สหภาพพม่า ภายใต้การประสานความร่วมมือกับโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย หรือ BRT (Biodiversity Research and Training Program) โดยที่ทั้งสององค์กรร่วมมือกันศึกษาอย่างบูรณาการ กำหนดวิจัยศึกษาทั้งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ในพื้นที่เป้าหมาย ตามพันธสัญญา EIA เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในการร่วมกันดูแลรักษาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป
จากการเรียนรู้และร่วมมือของชุมชน โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฏีใหม่เข้ามาใช้ ซึ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน จัดตั้งสภาชุมชน และจัดทำแผนชุมชน ก่อเกิดผลสำเร็จของการแก้ไขปัญหา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่สร้างจิตสำนึกและความตื่นตัวเรื่องการจัดการ ความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม เกิดการสร้างเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้กรอบความร่วมมือดำเนินงานโครงการฯ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ปตท. และ BRT ได้พิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อผลต่อการพัฒนาชุมชนและองค์ความรู้ของท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและยั่งยืน รวม 3 ด้าน โดยแบ่งภารกิจการทำงานดังนี้ คือ งานพัฒนาชุมชน/เยาวชน ปตท. เป็นผู้ดำเนินงาน งานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ BRT เป็นผู้ดำเนินงาน
ปตท. และ BRT ได้มุ่งเน้นดำเนินงานภายใต้การบริหารจัดการอย่างเชื่อมโยงกัน โดยจัดเจ้าหน้าที่ และนักวิจัยลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนในชุมชนอย่างก้าวหน้า สรุปประเด็นและนัยสำคัญได้ดังนี้. 1.มีผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์จากพื้นที่ที่แสดงถึงสภาพธรรมชาติ ชุมชนท้องถิ่น การใช้ประโยชน์ และศักยภาพในการใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้น 61 เรื่อง โดยข้อมูลต่างๆ ได้กำหนดจะนำไปจัดทำเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ของท้องถิ่น ให้ชุมชนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์ต่อไป 2.ขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดความร่วมมือพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน รวม 8 หมู่บ้านใน ต.ห้วยเขย่ง โดยดำเนินงานสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่การจัดทำแผนแม่บทชุมชน ในการพัฒนาหมู่บ้านด้วยตนเองร่วมกัน ซึ่งมีการจัดตั้งกลุ่มแกนนำชุมชนเป็น?สภาผู้นำชุมชน? เพื่อบริหารจัดการงานพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การพัฒนา/อนุรักษ์ดินและน้ำในโครงการหญ้าแฝก และการส่งเสริมอาชีพปลูกพืช/ไม้ผลเมืองหนาวร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงเป็นต้น 3.ส่งเสริมให้เกิด ?กลุ่มแกนนำเยาวชนประจำท้องถิ่น? ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้าง และปลูกฝังจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแพร่หลาย สนับสนุนต่อภาพลักษณ์ ทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีของชุมชนต่อ ปตท. อย่างดี