โรงเรียนในฝัน
ปตท.ได้มีการจัดเวทีประชาคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนโดยตรง คือ ผู้บริหารและครูตัวแทนนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เพื่อหาความต้องการร่วมกัน ในการสร้างโรงเรียนในฝันใแล้วปตท. จะได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณ งานวิชาการ เทคโนโลยี เป็นต้น
โครงการโรงเรียนในฝัน เป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญ ที่ ปตท. ร่วมสนับสนุน มาตั้งแต่ต้นปี 2547 โดยดำเนินงานให้แก่โรงเรียนในฝัน (Lab School) รวมจำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ในพื้นที่ที่ ปตท. มีหน่วยงานตั้งอยู่ ได้แก่ - โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราด (โรงเรียนเร่งสู่ฝัน) - โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา จังหวัดลำปาง(โรงเรียนเร่งสู่ฝัน) - โรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด จังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งเน้นความสำคัญในการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาเป้าหมายของโรงเรียนในฝันแต่ละแห่งร่วมกัน โรงเรียนในฝันของ ปตท. ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การกำหนด กลยุทธ์และแผนการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จึงเริ่มต้น ที่การจัดทำ เวทีประชาคม เพื่อสำรวจและระดมความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทุก ฝ่าย ทั้งนี้เพื่อสรุปข้อมูลแนวทาง และ ความคาดหวังของชุมชน ต่อการ พัฒนาโรงเรียน ดังตัวอย่าง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการจัดเวทีประชาคมขึ้นที่ โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม อ.บ่อไร่ จ.ตราด โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 130 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนโดยตรง คือ ผู้บริหารและครูของโรงเรียน ตัวแทนนักเรียนทุกห้อง จำนวน 22 ห้อง ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะนักเรียนที่เรียนดีเท่านั้น หากยังรวมถึง เครือข่าย ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ในวันนั้น นายกเทศ มนตรีอำเภอบ่อไร่ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีและให้ความสนใจอยู่ร่วม แสดงความคิดเห็นตลอดการประชุม และเนื่องจากเป็นพื้นที่ชายแดนที่อยู ่ในความดูแลของทหาร หน่วยงานทหารในพื้นที่ 3 หน่วย จึงเข้าร่วมงานใน ฐานะผู้ร่วมสนับสนุนในพื้นที่อีกด้วย ภายใต้ กระบวนการระดมความคิดเห็น ตามแนวทางสร้าง แผนที่ความคิด หรือ Mind Mapping ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิด เห็น และ หาความต้องการร่วมกัน ในการสร้างโรงเรียนในฝันให้เป็นจริง โดยสามารถสรุป ประเด็นสำคัญและ จัดลำดับความต้องการได้ ตรงกับใจของคนส่วนใหญ่
จากนั้น ปตท. และคณะครู จะได้นำผลจากการประชุมดังกล่าวมาหลอมให้เข้าด้วยกันพร้อมปรับแต่งให้สอด คล้องกับกรอบที่กระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้อีกรอบหนึ่ง เพื่อกำหนดแนวทางและกลยุทธ์ การดำเนินงานที่สอดคล้องและเหมาะสม นำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติงาน โครงการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เมื่อมีโอกาส ในเวทีที่เปิดกว้างให้ทุกฝ่าย มาร่วมวาดฝันด้วยกัน ภาพของความสามัคคีร่วมมือ ร่วมใจ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ก็ส่งผลตามมา เช่น สมาคมศิษย์เก่า จะร่วมจัดหาทุนสมทบ และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ผู้นำชุมชน สามารถสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานทหารในพื้นที่ ร่วมสนับสนุนแรงงานเพื่อการก่อสร้างปรับปรุง สนับสนุนรถบรรทุก สำหรับ รับ-ส่งนักเรียน ในการทำกิจกรรมต่างๆ สนับสนุนสถานที่จัดอบรม จัดทำค่าย รวมถึงวิทยากรฝึกอบรม สำหรับ ปตท. นั้นได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณ งานวิชาการ เทคโนโลยี การศึกษาดูงาน
โดยจัดนำคณะครู และผู้นำชุมชนดูงานหน่วยงาน ปตท. ภาคตะวันออก จัดอบรมความรู้พื้นฐานการใช้และซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้แก่คณะครูและนักเรียนโดยพนักงานของ ปตท. เอง จัดอบรมกิจกรรม5สในโครงการ5สสู่เยาวชนให้แก่คณะครูและนักเรียนซึ่งถือเป็นนโยบายที่ ปตท. กำหนดให้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนา ระบบบริหารและการจัดการ ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงผลสำเร็จ ไปสู่แผนพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย เป็นต้น