http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

โคคา-โคลา ประกาศผลเยาวชนผู้ชนะจากโครงการ แอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์ค ซีซั่น 2


ชื่อโครงการ : โคคา-โคลา ประกาศผลเยาวชนผู้ชนะจากโครงการ แอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์ค ซีซั่น 2
ชื่อองค์กร : บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด
เกี่ยวกับองค์กร :
เว็บไซต์ :
รูปแบบโดยย่อ :
การประกาศผลผู้ชนะจากที่ให้นิสิตและนักศึกษาจากชมรมจักรยานจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ดำเนินโครงการจักรยาน ที่มุ่งสร้างสังคมจักรยานอย่างยั่งยืน
รายละเอียด :

กรุงเทพฯ 4 ตุลาคม 2559  หลังจากเปิดให้ชมรมจักรยานจากมหาวิทยาลัย 12 แห่งทั่วประเทศส่งแผนโครงการจักรยานเข้าร่วมชิงทุน ตามด้วยการจัดเวิร์คช็อป และให้นิสิตและนักศึกษาจากชมรมจักรยานจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ดำเนินโครงการจักรยานจริงตามแผน เป็นเวลาเกือบ 1 ปี ล่าสุด กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย และนิตยสาร a day (อะเดย์) ได้ประกาศผลผู้ชนะจากโครงการ แอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์ค(Active Campus Network) ซีซั่น2 คือ ชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ชนะเลิศร่วมในกิจกรรม Active Campus ที่มุ่งสนับสนุนวัฒนธรรมจักรยานในรั้วมหาวิทยาลัย ส่วนกิจกรรม Active Trainer ที่มุ่งขยายเครือข่ายจักรยานจากรั้วมหาวิทยาลัยไปสู่เยาวชนระดับมัธยม ผู้ชนะร่วมคือ ชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยพะเยา และชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมมอบรางวัลใหญ่ให้เยาวชนผู้ชนะเลิศด้วยทริปปั่นตะลุยสิงคโปร์ เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนต่อยอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบเส้นทางจักรยานแห่งอาเซียน มีเส้นทางการปั่นจักรยานที่สวยงาม ปลอดภัย และเป็นระบบ สู่การพัฒนาสังคมจักรยานในมหาวิทยาลัยและชุมชนของตนอย่างยั่งยืน

นายนันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ?โครงการ แอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์ค ซีซั่น 2 มุ่งสร้างสังคมจักรยานอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่พัฒนาโครงการจักรยานในมหาวิทยาลัย และเผยแพร่วัฒนธรรมการปั่น โดยตลอดทั้งโครงการนี้เราได้ลงทุนไปกว่า 8 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วมโครงการสูงถึงกว่า 12,000 คน ซึ่งโคคา-โคลาดีใจที่เห็นความสำเร็จของโครงการที่ได้ช่วยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยพัฒนาโครงการจักรยานอย่างสร้างสรรค์ และยังสามารถตั้งต้นเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมจักรยาน ขยายไปสู่เยาวชนในระดับมัธยมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายแอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์คที่อาจารย์และนักศึกษามาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์การทำโครงการจักรยานร่วมกัน

นายปิยะ ลาดสา (ยูยะ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ชนะเลิศกิจกรรมแอ็คทีฟ แคมปัส (Active Campus) กล่าวว่า ?มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวกับผ่านการรณรงค์การใช้จักรยานอย่างเต็มรูปแบบ ในส่วนของนักศึกษาเอง พวกเราอยากแสดงพลังนักศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมจักรยาน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงการ Cycling Bring Happiness ที่นำเสนอความสำคัญของการปั่นจักรยานเพื่อสิ่งแวดล้อม และรณรงค์น้ำใจในการปั่นจักรยาน ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ เช่น ทริปปั่นช้างยิ้ม ที่นำเงินค่าลงทะเบียนไปบริจาคปางช้างแม่สา กิจกรรมละครรณรงค์สิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกจิตสำนึกการปั่นจักรยาน

นายเขียน เจนสุวรรณ์ (เขียน) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร อีกหนึ่งสมาชิกทีมผู้ชนะเลิศกิจกรรมแอ็คทีฟ แคมปัส (Active Campus) กล่าวว่า ?ทีมของเราเน้นการนำความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมที่เราเรียน สอดแทรกเข้ามาในทริปปั่นจักรยาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และศิลปะ โดยเราแบ่งกิจกรรมการปั่นออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรม Sunday Morning Ride ทริปปั่นจักรยานไปยังชุมชนเก่าที่รถเข้าไม่ถึง และคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก เพื่อชมงานศิลปะ กิจกรรม Ride for Architecture ทริปปั่นชมสถาปัตยกรรมของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และ กิจกรรม Bike Design Lab เวิร์คช็อปงานศิลปะ เช่น ทำกระเป๋าแฮนด์เมด เพื่อดึงดูดนักปั่นหน้าใหม่ให้กล้าออกมาปั่นข้างนอกจักรยานข้างนอก โดยผู้ที่จะเข้าร่วมเวิร์คช็อปจะต้องปั่นจักรยานมาเข้าร่วมเท่านั้น

นายวิษณุ จันทร์ตรีย์ (เมฆ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หนึ่งสมาชิกทีมผู้ชนะเลิศกิจกรรมแอ็คทีฟ เทรนเนอร์ (Active Trainer) ได้เล่าถึงความประทับใจที่มีต่อโครงการฯ ว่า ?แม่ฟ้าหลวงไม่เคยทำโครงการจักรยานอย่างจริงจังมาก่อน การเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้รู้จักสังคมจักรยานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ผลที่ได้คือ นักศึกษาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น นอกจากนี้เรายังขยายเครือข่ายจักรยานไปสู่เยาวชนในโรงเรียนบ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด และโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ข้าวต้มหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผ่านกิจกรรมอบรมการใช้จักรยาน การขับขี่อย่างปลอดภัย การบำรุงรักษาจักรยาน พร้อมทดสอบว่านักเรียนมีความรู้มากพอที่จะกลับไปอบรมการใช้จักรยานให้กับชุมชนต่อไปหรือไม่

น.ส. สุธินี รักชาติ (แอนนี่) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยการศึกษา สาขาภาษาอังกฤษคู่ขนาน มหาวิทยาลัยพะเยา หนึ่งสมาชิกทีมผู้ชนะเลิศกิจกรรม แอ็คทีฟ เทรนเนอร์ (Active Trainer) เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมทริปปั่นจักรยานตะลุยสิงคโปร์ที่ผ่านมา ด้วยว่า ขอขอบคุณโคลา-โคลา และ a day ที่ให้โอกาสมหาวิทยาลัยพะเยา ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ และได้มีโอกาสเรียนรู้การสร้างสังคมจักรยานในมหาวิทยาลัย สำหรับทริปสิงคโปร์ เราได้เรียนรู้ระบบจัดการจักรยานในพื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางจักรยานร่วมกัน ระบบการใช้จักรยานในแหล่งท่องเที่ยว ว่าแม้พื้นที่ต่างๆ จะมีประโยชน์การใช้สอยที่ต่างกัน แต่ก็สามารถใช้เส้นทางจักรยานร่วมกันได้ คิดว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มานำเสนอกับมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย และพัฒนาเส้นทางจักรยานต่อไป

สรุปผล :
.

aphondaworathan