http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

ปล่อยปะการังเทียม คืนบ้าน คืนชีวิต ให้สัตว์ทะเล


ชื่อโครงการ : ปล่อยปะการังเทียม คืนบ้าน คืนชีวิต ให้สัตว์ทะเล
ชื่อองค์กร : ธนาคารออมสิน
เกี่ยวกับองค์กร :
เว็บไซต์ :
วัตถุประสงค์ : เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติชายฝั่ง ทำให้สัตว์ทะเลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การทำประมงประสพผลสำเร็จดี ระบบนิเวศมีความสมบูรณ์มากขึ้น รวมถึงทำให้ชุมชนมีรายได้จึงไม่ต้องออกไปรับจ้างหรือทำงานต่างถิ่น
สถาที่ : บ้านเกาะจิก ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี
รูปแบบโดยย่อ :
ธนาคารออมสินร่วมกับชุมชนบ้านเกาะจิก จัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติชายฝั่ง โดยเริ่มเข้าไปดำเนินการ ?ปล่อยปะการังเทียม คืนบ้าน คืนชีวิต ให้สัตว์ทะเล ด้วยการนำท่อซีเมนต์มาทิ้งในทะเลห่างจากชายฝั่งเกาะประมาณ 2-3 กม.
รายละเอียด :

ในปี 2552 ธนาคารออมสินร่วมกับชุมชนบ้านเกาะจิก จัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติชายฝั่ง โดยเริ่มเข้าไปดำเนินการ ?ปล่อยปะการังเทียม คืนบ้าน คืนชีวิต ให้สัตว์ทะเล? บ้านเกาะจิก ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ด้วยการนำท่อซีเมนต์มาทิ้งในทะเลห่างจากชายฝั่งเกาะประมาณ 2-3 กม. ก่อให้เกิดผลดีต่อคุณภาพชีวิตและชุมชนในหลากหลายด้าน พื้นที่ทะเลที่เกาะจิกซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมงที่เรียกกันว่าประมงพื้นบ้าน คือการออกเรือเล็กเพื่อไปวางลอบปลา ปูม้า ปลาหมึก และการทำอวนลอยกุ้งและอวนลอยปลา เคยอุดมสมบูรณ์มีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่จำนวนมาก ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและระบบนิเวศถูกทำลายลงจากเครื่องมือประกอบการประมงขนาดใหญ่ ที่ใช้เครื่องมือประมงที่มีลักษณะการทำลายล้าง เช่น เรืออวนขนาดใหญ่ เรืออวนลากคู่ เรืออวนลากแขก ซึ่งออกเรือเดินทะเลขนาดใหญ่มาจากพื้นที่อื่น เช่น สมุทรสงคราม ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงมากและบางชนิดสูญพันธุ์ ส่งผลกระทบโดยตรงเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งขนาดเล็กหากินไม่ได้ รายได้ของชาวบ้านลดน้อยลง ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้ใหญ่บ้านคือนายณรงค์ชัย เหมสุวรรณ จึงได้พยายามคิดหาวิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งด้วยการทิ้งปะการังเทียม

เริ่มต้นจากการระดมทุนกันเองภายในหมู่บ้าน สร้างบ้านปลาจากถังพลาสติกและคอนกรีตเสริมเหล็กและขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลบางชัน ทิ้งปะการังเทียมพัฒนาอาชีพ ผู้ใหญ่บ้านได้นำเรื่องโครงการมาพูดคุยกับทางธนาคารออมสิน เมื่อเห็นว่าโครงการดังกล่าวทำให้สัตว์ทะเลมีที่วางไข่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและเป็นการเพิ่มประชากรสัตว์น้ำอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองมีแหล่งทำมาหากิน สะท้อนให้เห็นถึงคำว่า ?มีสินในน้ำ? ได้อย่างเต็มความหมาย ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ครบถ้วนตามความหมายของการทำ CSR คือ Sustainable Community โดยครอบคลุมทั้ง 3 ด้านคือ Environment, Social และ Economics ธนาคารออมสินจึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการเป็นจำนวนเงิน 329,000 บาท ในการทิ้งปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของท้องทะเล

สรุปผล :
ชาวบ้านที่เกาะจิกปัจจุบันสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ในธรรมชาติที่งดงาม เลี้ยงชีพจาก ทรัพยากรจากทะเล มีการออมเงิน มีสินเชื่อเพื่อพัฒนาอาชีพ มีไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนใช้ เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านในเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ที่สมบูรณ์แบบและงดงามยิ่ง

aphondaworathan