http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

โครงการปรับปรุงดิน


ชื่อโครงการ : โครงการปรับปรุงดิน
ชื่อองค์กร : กลุ่มมิตรผล
เกี่ยวกับองค์กร :
เว็บไซต์ :
วัตถุประสงค์ : นำน้ำกากส่า มาสร้างประโยชน์แทนการปล่อยทิ้งโดยใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เพราะ?น้ำกากส่า? มีคุณลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์มที่สามารถกักเก็บความชื้นในดิน ทำให้ต้นอ้อยดูดซับอาหารได้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทำให้ดินร่วนซุย ช่วยเกษตรกรควบคุมวัชพืช และสามารถช่วยเพิ่มอัตรา
สถาที่ : ชุมชนเกษตรที่มิตรผลส่งเสริมการปลูกอ้อย ที่ ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และในพื้นที่ใกล้เคียง
รูปแบบโดยย่อ :
เป็นการแจกจ่ายน้ำกากส่าให้กับชาวไร่อ้อยโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งชาวไร่ที่อยู่ในพื้นที่โรงงานสามารถมารับน้ำกากส่าได้เอง หรือที่อยู่ในพื้นที่ไกลออกไปก็เสียเพียงค่าใช้จ่ายในการขนส่งเท่านั้น
รายละเอียด :

โดยทั่วไปแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลจะเกิดของเสียระหว่างกระบวนการผลิตที่เรียกว่า น้ำกากส่า หรือ Vinasse ซึ่งโรงงานผลิตเอทานอลทั่วไปเลือกที่จะกำจัดของเสียที่ว่านี้ด้วยการปล่อยทิ้งไปในกระบวนการบำบัดของโรงงาน หากของเสียมีปริมาณเกินศักยภาพที่โรงงานจะรับได้ ของเสียที่ล้นบ่อจะก่อปัญหาให้กับชุมชนทั้งเรื่องกลิ่นและคุณภาพของแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบ แต่ด้วยความใส่ใจในปัญหาดังกล่าว มิตรผลได้ลงทุนและทำการวิจัยเพื่อส่งเสริมกระบวนการปล่อยของเสียจากธุรกิจเอทานอลของมิตรผลให้เป็นศูนย์ โดยในที่สุด มิตรผลเลือกที่จะนำ ?น้ำกากส่า? มาสร้างประโยชน์แทนการปล่อยทิ้งโดยใช้เป็นสารปรับปรุงดินด้วยเห็นแล้วว่าน้ำกากส่า มีคุณลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์มที่สามารถกักเก็บความชื้นในดิน ทำให้ต้นอ้อยดูดซับอาหารได้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต

นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำกากส่าทำให้ดินร่วนซุย ช่วยเกษตรกรควบคุมวัชพืช และสามารถช่วยเพิ่มอัตราการงอกของตออ้อยได้ การบำรุงตอ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มผลผลิตให้กับชาวไร่อ้อย หากเกษตรกรมีตออ้อยที่แตกกอดี เกษตรกรจะไม่ต้องเริ่มกระบวนการปลูกอ้อยใหม่จากศูนย์ กล่าวคือ ยิ่งมีจำนวนตออ้อยมาก ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากอ้อยได้มากตาม ส่งผลให้ชาวไร่อ้อยมีต้นทุนต่ำสำหรับการปลูกอ้อยในรอบถัดไป และมีกำไรมากเป็นทวีคูณ โครงการนำร่องของมิตรผลที่ส่งเสริมการบำรุงตออ้อยและปรับสภาพดินด้วย น้ำกากส่า เริ่มในปี พ.ศ. 2551 โดยนำร่องในพื้นที่ชุมชนเกษตรที่มิตรผลส่งเสริมการปลูกอ้อยในจังหวัด ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 24,000 ไร่จากจำนวนกว่า 100 หมู่บ้าน โครงการส่งเสริมนี้มีการแจกจ่ายน้ำกากส่าให้กับชาวไร่อ้อยโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งชาวไร่ที่อยู่ในพื้นที่โรงงานสามารถมารับน้ำกากส่าได้เอง หรือที่อยู่ในพื้นที่ไกลออกไปก็เสียเพียงค่าใช้จ่ายในการขนส่งเท่านั้น

สรุปผล :
โครงการส่งเสริมการแจกจ่ายน้ำกากส่าให้กับชาวไร่อ้อยโดยไม่คิดมูลค่าถือว่ามีความสำเร็จ ค่อนข้างดีเนื่องจากพบว่าเกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นประมาณ 26%

aphondaworathan