น้ำเพื่อชีวิต (Water for Life )
เป็นการบำบัดน้ำเสียรูปแบบนี้จะอาศัยการทำงานร่วมกันของพืชและจุลินทรีย์ในดินช่วยบำบัดสิ่งสกปรกจากน้ำ
โครงการ "น้ำเพื่อชีวิต" ได้รับความร่วมมือจากคณะนักวิชาการสิ่งแวดล้อมจากโครงการแหลมผักเบี้ยและวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งใช้เวลาศึกษาถึง2 ปี เพื่อเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมของโรงผลิตเบียร์ ที่สุดได้กำหนดเป็น 2 วิธี วิธีแรกเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำเทียม วิธีที่สองเป็น พื้นที่หญ้ากรองน้ำเสีย โดยได้ทดลองปลูกพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น 3 ชนิด ได้แก่ ธูปฤาษี พุทธรักษา และหญ้าเลี้ยงสัตว์ ในแปลงทดลองจำนวน 5 แปลง ที่มีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 100 เมตร บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ของโรงผลิตเบียร์ การบำบัดน้ำเสียรูปแบบนี้จะอาศัยการทำงานร่วมกันของพืชและจุลินทรีย์ในดินช่วยบำบัดสิ่งสกปรกจากน้ำ ในระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมนั้นจะใช้วิธีปล่อยให้น้ำเสียไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง มีระยะเวลากักน้ำเสียไว้ 1 วัน จากนั้นปล่อยน้ำเสียใหม่จะไปดันน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้ไหลออกสู่แหล่งน้ำต่อไป ขณะที่ระบบพืชหญ้ากรองน้ำเสียจะเป็นการปล่อยน้ำเข้าสู่แปลงดิน ขังไว้ 5 วัน หลังจากการบำบัดในแปลง 5 วัน จึงปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ แล้วทิ้งให้แปลง ดินแห้ง 2 วัน จึงเริ่มปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดหมุนวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และบริษัทฯ ก็จะว่าจ้างให้ชาวบ้านในชุมชนรอบข้างเก็บเกี่ยวพืชที่เติบโตไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ หรือทำเครื่องหัตถกรรมจักสานต่างๆ สร้างรายได้ต่อไป โรงผลิตเบียร์นั้นใช้น้ำเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการผลิต และกว่าจะออกมาเป็นเบียร์ 1 ลิตร จะมีน้ำเสียที่ผ่านการใช้งานประมาณ 3-10 ลิตร ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้มีน้ำเสีย 1,500 ลูกบาศก์เมตรประมาณต่อวัน ซึ่งจะผ่านระบบบำบัดก่อนปล่อยลงสู่คลองชลประทานซึ่งไหลผ่านด้านข้างของโรงงานผลิต