http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

ธ.ไทยเครดิตฯ ร่วมวงกระตุ้น “ลดปริมาณขยะตลาดชุมชน” ปิ๊งไอเดียเรียงความชนะประกวด จัดกิจกรรม “แยกขยะ แลกสุข”


ชื่อโครงการ : ธ.ไทยเครดิตฯ ร่วมวงกระตุ้น “ลดปริมาณขยะตลาดชุมชน” ปิ๊งไอเดียเรียงความชนะประกวด จัดกิจกรรม “แยกขยะ แลกสุข”
ชื่อองค์กร : ธนาคารไทยเครดิตฯ
เกี่ยวกับองค์กร : .
เว็บไซต์ :
รูปแบบโดยย่อ :
วิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิตฯ เผยว่า “ธนาคารดำเนินการการเป็นธนาคารอย่างยั่งยืน (Sustainable Banking) ให้ความสำคัญทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล โครงการคิดเพื่อน้อง... บ่มเพาะลูกไม้ใต้ต้น ปีที่ 3 เป็น 1 ในกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคาร ที่ปีนี้เปิดกว้างให้เยาวชนไทยทั่วประเทศ ส่งเรียงความเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในตลาดเข้าประกวด ภายใต้หัวข้อ ตลาดชุมชนสีเขียวที่ฉัน “รักษ์” เพื่อต้องการส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และตลาด สถานที่ใกล้ตัวที่สร้างรายได้และโอกาส
รายละเอียด :

เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไป โดยเฉพาะตลาดในชุมชน เป็นบ่อเกิดขยะถุงพลาสติกจำนวนมหาศาล โดยภาครัฐ และผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า-ร้านสะดวกซื้อก็กำลังจะร่วมกันงดแจกถุงพลาสติกตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ปัญหาขยะพลาสติกดังกล่าว ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ตระหนักและได้กระตุ้นให้ชุมชน รักษ์ตลาด โดยการร่วมกันลงมือทำจริงๆ นำเรียงความที่ชนะการประกวด ในหัวข้อ ตลาดชุมชนสีเขียวที่ฉัน “รักษ์” ใน โครงการคิดเพื่อน้อง...บ่มเพาะลูกไม้ ใต้ต้น ปีที่ 3 มาจัดกิจกรรม “แยกขยะ แลกสุข” ณ ตลาดบางปลา จ.สมุทรปราการ ซึ่งคาดว่าจะช่วยจุดประกายให้ตลาดในชุมชน ร่วมแรงรวมใจกันลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก พร้อมทั้งรู้จักการคัดแยกขยะ โดยธนาคารไทยเครดิตฯ มอบถังขยะที่แยกเป็นประเภทต่างๆ ให้แก่ตลาดบางปลาด้วย

วิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิตฯ เผยว่า “ธนาคารดำเนินการการเป็นธนาคารอย่างยั่งยืน (Sustainable Banking) ให้ความสำคัญทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล โครงการคิดเพื่อน้อง... บ่มเพาะลูกไม้ใต้ต้น ปีที่ 3 เป็น 1 ในกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคาร ที่ปีนี้เปิดกว้างให้เยาวชนไทยทั่วประเทศ ส่งเรียงความเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในตลาดเข้าประกวด ภายใต้หัวข้อ ตลาดชุมชนสีเขียวที่ฉัน “รักษ์” เพื่อต้องการส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และตลาด สถานที่ใกล้ตัวที่สร้างรายได้และโอกาส "

ในปีนี้มีเยาวชนส่งเรียงความเข้าประกวดมากถึง 2,542 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เท่า สะท้อนถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งการนำความรู้แบบบูรณาการเรื่องของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเข้ามาช่วย โดยไอเดียที่ชนะการประกวดถูกนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะ และใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกในตลาดสด เราอยากเห็นตลาดสดที่เป็นแหล่งทำกินของลูกค้าหลักของเรา ได้รับการยกระดับและต้องการกระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้าและคนที่มาจับจ่ายใช้สอยช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ ธนาคารยังแจกถุงผ้าให้พนักงานกว่า 3,000 คนเพื่อเป็นตัวอย่างการเริ่มใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกเวลาไปซื้อของตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อต่างๆ” จากที่หลายหน่วยงานได้ประกาศดีเดย์ 1 มกราคม 2563 งดการแจกถุงพลาสติก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาลดปริมาณขยะ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาดชุมชน ก็ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันลดการใช้ถุงพลาสติก และเผยวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อม โดย นัฐพร นาคจู ผู้บริหารตลาดบางปลา เผยว่า “ตลาดของเรามีขนาดใหญ่ แบ่งเป็นหลายโซน มีขยะในแต่ละวันค่อนข้างมาก ทางตลาดจะมีการบริหารจัดการขยะด้วยการกำหนดจุดทิ้งขยะให้กับแม่ค้าพ่อค้า หลังจากนั้นก็จะนำขยะเหล่านั้นมาแยกตามหมวดแล้วก็จะมีบริษัทกำจัดขยะมารับขยะไป เราเคยจัดแคมเปญรณรงค์กับโซนตลาดสด ลูกค้าที่ไม่รับถุงพลาสติกจากร้านค้า เราจะให้ส่วนลดพิเศษ นอกจากนี้ พวกเราก็ยังเปิดรับไอเดียดีๆ จากพนักงาน พ่อค้าแม่ค้า รวมถึงเยาวชนในชุมชน เพื่อช่วยกันรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและการรักษาความสะอาดด้วยครับ อย่างเช่นกิจกรรมในวันนี้ แยกขยะ แลกสุข”

ทางด้านเยาวชนในชุมชนที่ชนะการประกวดเรียงความในระดับชั้นประถมศึกษา ด.ญ. วรรณกร ศาสตร์โพธิ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม จ.สมุทรปราการ เผยว่า “ตลาดเป็นที่แห่งแรกที่หนูมองว่ามีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวคิดที่หนูเขียนในเรียงความคือการให้ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้แก่คนในชุมชนในเรื่องของการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และให้ร้านค้าทุกร้านช่วยกันปลูกต้นไม้ร้านละ 1 ต้นขึ้นไป ในขณะเดียวกัน ผู้ซื้อที่มาจับจ่ายในตลาด ต้องซื้อเท่าที่จำเป็น ไม่ซื้อเยอะเกิน เพราะเมื่อรับประทานไม่ทัน อาหารเหล่านี้ก็จะเน่าเสีย เป็นขยะที่สร้างมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อม แต่ทั้งหมดนี้ตลาดจะเป็นตลาดชุมชนสีเขียวที่ฉัน “รักษ์” ได้นั้น ขึ้นอยู่กับจิตสำนึก ความสามัคคี ทั้งของพ่อค้าแม่ค้า และคนในชุมชนของตลาด ที่จะรักษาความสะอาด และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมค่ะ”

ทางด้านเหล่าแม่ค้าในตลาดปลา อย่าง แววดาว คงทน แม่ค้าขายปลาทอด เผยว่า “ชอบแยกขยะ โดยจะแยกถุงเป็นขยะแห้ง ขยะเปียก โดยเฉพาะเศษอาหารจะเลือกดู หากเป็นข้าวที่กินเหลือ จะนำไปโปรยให้ปลา หรือผักสดที่เหลือจากการทำกับข้าว จะนำไปไว้ที่โคนต้นไม้ เพื่อให้สลายกลายเป็นปุ๋ย มองว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ปัจจุบันเริ่มเห็นลูกค้าที่มาซื้อของ นอกจากหิ้วถุงผ้าแล้ว บางคนยังนำภาชนะมาใส่อาหารที่ซื้อกลับไปด้วย” ส่วน สมร แสงจันทร์ แม่ค้ากุ้งสดและผลไม้ เผยว่า “เริ่มมีลูกค้าที่มาซื้อผลไม้จะไม่รับถุงพลาสติก แล้วเขาจะใส่ในถุงผ้าที่เขาเตรียมมา หรือหากซื้อกุ้งสด ลูกค้าบางคนจะบอกว่าไม่ต้องซ้อนถุง ซึ่งลูกค้าที่ทำเช่นนี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ แม่ค้าเองก็เห็นดีด้วยที่ได้มีส่วนช่วยลดปริมาณขยะ เพราะแม่ค้าด้วยกันเองก็คำนึงถึงเรื่องนี้ พวกเราจึงช่วยกันด้วยการบอกกล่าวกัน หากร้านใครมีถุงขยะใบใหญ่ๆ ที่ยังใส่ขยะไม่เต็ม เราจะบอกแผงใกล้กันว่าเรามีถุงขยะนะ ถ้าเธอมีขยะเอามาใส่ด้วยกันได้ แล้วพอเลิกขายก็จะนำถุงขยะที่รวมกันใส่นี้ ไปทิ้งยังจุดทิ้งขยะของตลาด เพื่อช่วยกันลดปริมาณขยะของแต่ละร้านค้าลง”

ขณะที่ พชรวรรณ เฉลิมบรรจง พนักงานร้านข้าวต้มกุ๋ย ตลาดบางปลา เผยว่า “ทุกวันนี้ส่วนตัวแล้วก็พยามที่จะพกถุงผ้าไปเอง ทำให้ติดเป็นนิสัย ถ้ามีถุงผ้าหลายใบก็จะเอาไปแจกให้กับคนรู้จัก ช่วยบอกต่อให้เขาช่วยลดถุงพลาสติกกัน ส่วนที่ร้านข้าวต้มเริ่มมีลูกค้าเอาถุงผ้ามาใส่กับข้าวกลับบ้านเองบ้าง อยากเห็นคนเอาปิ่นโตหรือกล่องใส่อาหารมาใส่กับข้าวที่ร้านเหมือนกันค่ะ” สามารถติดตามกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ได้ที่ ธนาคารไทยเครดิตฯ สาขาที่ให้บริการสินเชื่อนาโนและ ไมโครเครดิตฯ และสำนักงานนาโนเครดิตทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่เว็บไซต์ www.tcrbank.com
และเฟซบุ้ค www.facebook.com/TCRBank , www.facebook.com/ThaiCreditKitforSociety

17-12-2019 15:27

aphondaworathan