ผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำ
ซีพีเอฟคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกของโรงงานและชุมชนจึงได้เริ่มโครงการระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยป้องกันความรำคาญเรื่องกลิ่น ที่เกิดจากการบำบัดน้ำเสียแบบเดิมที่เป็นแบบบ่อเปิด จึงเปลี่ยนมาเป็นระบบบำบัดแบบไร้อากาศชนิดปิดคลุม
โรงงานแปรรูปเนื้อไก่และอาหารแปรรูปที่มีนบุรี ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ริเริ่มนำนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นโดยฝีมือคนไทยมาใช้ในโครงการ ?ผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสีย? เป็นแบบ Anaerobic Baffle Reactor (ABR) ด้วยความตระหนักต่อปัญหาโลกร้อน และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมาจนถึงปัจจุบันซีพีเอฟ จึงให้การส่งเสริมนวัตกรรมด้านพลังงาน ตลอดจนการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังตลอดมา โดยจุดเริ่มนั้นเกิดเพราะชุมชนที่อยู่รอบๆ ขยายตัวเข้ามาใกล้โรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีกว่า 500 ครัวเรือน และซีพีเอฟเองก็คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกของโรงงานและชุมชนจึงได้เริ่มโครงการระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยป้องกันความรำคาญเรื่องกลิ่น ที่เกิดจากการบำบัดน้ำเสียแบบเดิมที่เป็นแบบบ่อเปิด จึงเปลี่ยนมาเป็นระบบบำบัดแบบไร้อากาศชนิดปิดคลุม ซึ่งระบบบำบัดน้ำที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ ด้านบนของบ่อบำบัดจะถูกปิดด้วยผ้าใบ PVC อย่างมิดชิด จึงช่วยกักเก็บกลิ่นได้เป็นอย่างดี ส่วนภายในบ่อถูกออกแบบให้มีกำแพงบังคับทิศทางการไหลของน้ำเสียด้วยลักษณะการไหลขึ้น-ลงภายในบ่อ ทำให้เกิดการสัมผัสระหว่างน้ำกับเชื้อจุลินทรีย์อย่างเต็มที่ จึงเกิดการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์กลายเป็นก๊าซชีวภาพ โดยระบบสามารถรองรับน้ำได้สูงสุดถึง 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นการผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงสุดถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สามารถนำก๊าซดังกล่าวไปใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเตาในกระบวนการผลิตไอน้ำ (Boiler) ภายในโรงงาน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Gas Generator) หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร ทั้งยังเป็นเชื้อเพลิงสะอาด สอดคล้องกับหลัก CDM : Clean Development Mechanism ที่ช่วยลดปัญหาภาวะเรือนกระจกของโลก จุดเด่นของระบบบำบัดแบบปิดที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ อยู่ที่การใช้พื้นที่สำหรับการบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน น้อยลงถึง 3 เท่า จากเดิมเคยใช้พื้นที่ 8 ไร่ในการบำบัด ก็เหลือเพียง 2.5 ไร่ ทำให้สามารถนำพื้นที่ 5.5 ไร่ ที่เหลือนั้น ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ที่สำคัญน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วก็ยังมีคุณภาพที่จะปล่อยลงสู่ลำรางสาธารณะ เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด จนนำน้ำที่ผ่านการบำบัดส่วนหนึ่งกลับมาใช้รดต้นไม้ที่ปลูกอยู่รายรอบโรงงานได้ หากจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำนี้ นับว่าคุ้มค่ามาก เพราะจากงบประมาณที่ลงทุนไป 24.5 ล้านบาท โดยความคุ้มค่าที่ได้ไม่ใช่แต่เพียงมิติของเงินหรือกำไรเท่านั้น แต่ยังคุ้มค่าในด้านการประสานผลประโยชน์ขององค์กรและการรักษาสิ่งแวดล้อมของส่วนรวมได้ด้วย โครงการนี้ยังสามารถลดการใช้น้ำมันเตาในกระบวนการผลิตได้มากถึง 366,000 ลิตรต่อปี หรือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานถึงปีละ 6.6 ล้านบาท ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม นับว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 15,000 ตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกป่า 88 ไร่เลยทีเดียว
ระบบสามารถรองรับน้ำได้สูงสุดถึง 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นการผลิตก๊าซชีวภาพ ได้สูงสุดถึง 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สามารถนำก๊าซดังกล่าวไปใช้เป็นพลังงานทดแทน น้ำมันเตาในกระบวนการผลิตไอน้ำ (Boiler) ภายในโรงงาน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดย ผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Gas Generator) หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร โครงการนี้ยังสามารถลดการใช้น้ำมันเตาในกระบวนการผลิตได้มากถึง 366,000 ลิตรต่อปี หรือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานถึงปีละ 6.6 ล้านบาท ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม นับว่าช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 15,000 ตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกป่า 88 ไร่