http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

แคมเปญรณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยกระดับการสื่อสารเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค


ชื่อโครงการ : แคมเปญรณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยกระดับการสื่อสารเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค
ชื่อองค์กร : บริษัท วีโร่ พับลิค รีเลชั่นส์ จำกัด
เกี่ยวกับองค์กร : .
เว็บไซต์ :
รูปแบบโดยย่อ :
แคมเปญ “6 เดือนแรก นมแม่เท่านั้นที่คุณต้องการ” ได้รับรางวัลแคมเปญประชาสัมพันธ์แห่งปี ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรางวัลการรณรงค์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะแห่งปี จากโครงการแคมเปญเอเชีย (Campaign Asia) ซึ่งจัดโดยพีอาร์ อวอร์ด (PR awards) ที่ฮ่องกงเมื่อเดือนที่แล้ว
รายละเอียด :

แคมเปญรณรงค์การดื่มนมแม่ในประเทศเมียนมา #6la ก่อตั้งโดยองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ยูนิเซฟ (UNICEF) และ องค์กรอไลฟ์ แอนด์ ไทรฟ์ (Alive & Thrive) ภายใต้การสนับสนุนจากบริดจ์ (Bridge) เอเจนซี่อิสระในเมียนมา และ วีโร่ (Vero) เอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์และดิจิทัล

ทั้งนี้ แคมเปญ #6laได้รับการยอมรับจากคณะผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ระดับภูมิภาค ในด้านคุณภาพของแคมเปญ และข้อความสื่อสารที่มีพลัง รวมถึงผลกระทบมหาศาลที่มีต่อสังคมเมียนมา ด้วยรางวัลเหล่านี้เองที่ทำให้ #6la มีส่วนช่วยในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม ด้านการสื่อสารเพื่อความยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคมเปญ “6 เดือนแรก นมแม่เท่านั้นที่คุณต้องการ” (#6la) ได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา

มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโต้แคมเปญการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารกแบรนด์ต่างๆ และเพื่อแสดงว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะ 6 เดือนแรกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับแม่และทารก รวมถึงคนในครอบครัว แต่ยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในประเทศอีกด้วย “แคมเปญที่เปี่ยมด้วยพลังเช่นนี้ มีความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อม ที่ทำให้เหล่าคุณแม่รู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตนมผงสำหรับทารกหลายราย ทำการโฆษณาเพื่อขายผลิตภัณฑ์อยู่อย่างต่อเนื่อง การสร้างความมั่นใจว่านมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารกจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และจำเป็นที่เด็กๆ ต้องได้ดื่มนมแม่ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต” แอนดี้ นีลเซน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและการรณรงค์ องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) กล่าว “1 ใน 3 ของเด็กเมียนมามีภาวะขาดสารอาหาร

ในขณะที่การปฏิบัติตามคำแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดอัตราการตายของเด็ก ทำให้สุขภาพและโภชนาการของเด็กดีขึ้น และมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดี ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและปราศจากอคติเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงดูลูกของพวกเขา จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแคมเปญอย่าง #6la จึงมีความสำคัญต่อสังคมอย่างมาก” นางจูโน คุนุงิ ตัวแทนของยูนิเซฟประจำประเทศเมียนมากล่าว แคมเปญดังกล่าวเข้าถึงผู้คนเกือบ 20 ล้านคนในเมียนมา และสามารถกระตุ้นบรรดาคุณแม่ชาวเมียนมาในย่างกุ้ง มัณฑเลย์ และเนปิดอว์ ถึง 1 ใน 4 หันมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แคมเปญ #6la สร้างการตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน ในการช่วยสร้างข้อความผลักดันเชิงบวกให้กับคุณแม่ทั้งหลาย เพื่อชื่นชมความเสียสละของแม่และสนับสนุนเหล่าคุณแม่รวมถึงคนใกล้ตัวให้เข้าใจว่าในช่วง 6 เดือนแรกของลูกน้อย ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการเลี้ยงดูพวกเขาด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว “โภชนาการ การปกป้อง และ ความรักที่คุณแม่มอบให้ลูกในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต ควรได้รับการชื่นชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ที่มีความสำคัญต่อพวกเขามากที่สุด” โดนัล อีสต์วูด ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของบริดจ์กล่าว

ทีมพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีจากกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา (MOHS) ของเมียนมาจะเข้าเยี่ยมคุณแม่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่เพิ่งคลอด หรือคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มฝากครรภ์ เพื่อมอบชุดกำไลข้อมือที่เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าร่วมโครงการ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลและการเป็นสมาชิกในระยะยาว สิทธิประโยชน์ที่คุณแม่จะได้รับมีทั้งการช่วยเหลือด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการได้เข้าอบรมพื้นฐานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ให้บริการแบบเดือนต่อเดือน นอกจากนั้นยังสามารถเข้าใช้บริการแอปพลิเคชัน mHealth และ MayMay ได้อีกด้วย เหล่าคุณแม่สามารถขอกำไลดังกล่าว เพื่อมอบให้คนที่อยู่ใกล้ตัวหรือคนในครอบครัวได้เช่นกัน เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่สุดสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ถูกวางแผนให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงลึกด้านพฤติกรรม ที่ระบุว่า ชาวเมียนมามักได้รับแรงจูงใจจาก “อินฟลูเอนเซอร์” ที่เป็นบุคคลใกล้ตัวจำนวนมาก ในการตัดสินใจสิ่งต่างๆ รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับลูกน้อยของพวกเขาด้วยเช่นกัน นายโดนัล กล่าวเพิ่มเติมว่า“ ชิต ธู วัย, อาร์ ซาร์นี, วัท โมน เชว ยี่, ดอว์ เน เน ซาน และ ดร. ซอว์ วิน ผู้เป็นเพื่อน พ่อ น้องสาว คุณย่า คุณยาย และ แพทย์ ของเหล่าคุณแม่ที่ให้กำเนิดบุตร ต่างเป็นกลุ่มบุคคลที่น่ายกย่องอย่างมาก เพราะนอกจากจะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคคลใกล้ตัวได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ยังสามารถสร้างอิทธิพลต่อกระแสความคิดของชาวเมียนมา เพื่อเปลี่ยนทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

นอกจากนี้นักร้องสาว ซอง ธิน ปาร์ ยังเป็นคุณแม่ตัวอย่างตามแบบฉบับของโครงการ ที่ให้นมลูกของเธออย่างจริงจังเป็นเวลา 6 เดือน จนถึงวันสุดท้ายของการรณรงค์” “ส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเกิดจากการสนับสนุนของผู้อิทธิพลทางความคิดที่เป็นสื่อบุคคลหรืออินฟลูเอนเซอร์ รวมถึงความช่วยเหลือจากอีกหลายๆ ฝ่าย” มรา ธิตสา ทาน ผู้วางแผนเชิงกลยุทธ์ ของวีโร่ เมียนมาซึ่งเป็นหัวหน้าทีมบริหารงานลูกค้า ในแคมเปญ #6la กล่าว และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การกล่าวถึงสมาชิกครอบครัว เพื่อนบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ว่าเขาเกี่ยวข้องอย่างไรในเรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับแคมเปญ อีกทั้งต้องไม่ลืมที่จะให้น้ำหนักความคิดเห็นของตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ที่วีโร่ เรารู้ดีถึงบทบาทสำคัญของอินฟลูเอนเซอร์ที่มีต่อชาวเมียนมา ซึ่งเราก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดเหล่านี้ เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเรานำเสนอสารหรือข้อความที่ต้องการไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง ในช่วงท้ายของการรณรงค์เราได้ร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ระดับแถวหน้าเกือบ 50 คน ที่มาช่วยร่วมรณรงค์สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสนับสนุนเรื่องการให้นมแม่โดยเฉพาะ” “เรายังเชื่อในพลังของการสื่อสารที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะจุดประกายความคิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นเราจึงสื่อสารข้อความของเราผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารที่มีทั้งหมด

โดยในแต่ละวันเราทำงานร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำ เพื่อเขียนเรื่องราวที่สร้างพลังใจให้ผู้รับสารและเรื่องราวที่ให้ความรู้ อย่างในครั้งนี้เราได้สร้างสรรค์เรื่องราวของสัญชาตญานความเป็นแม่และประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งนอกจากสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว เราได้ทำสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งในแอปพลิเคชัน และเฟซบุ๊กแฟนเพจของ MayMay ที่เราใช้เป็นช่องทางออนไลน์หลัก” พลังของการเคลื่อนไหวในครั้งนี้สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงและรวดเร็วแบบก้อนหิมะ ทำให้ภาคเอกชนในเมียนมาเข้ามาแสดงบทบาทในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงท้ายของการรณรงค์ ธนาคาร KBZ ได้ประกาศสร้างห้องสำหรับให้นมลูกเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งปรับปรุงนโยบายด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล (HR) เพื่อให้รองรับพนักงานที่ต้องเลี้ยงดูบุตรได้มากขึ้น โดยการให้เงินชดเชยในช่วงหยุดพักฟื้นเพื่อให้นมแม่ในช่วง 6 เดือนแรกโดยเฉพาะ และยังช่วยนำเสนอภาพยนตร์โฆษณาของแคมเปญผ่านสื่อของธนาคารในสาขากว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตซิตี้ มาร์ท (City Mart) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ด้วยเช่นกัน โดยการมอบชุดกำไลข้อมือให้กับพนักงานประจำทุกคน และขายแพ็คเกจกำไลสำหรับผู้สนับสนุนเพื่อนำเงินรายได้กลับไปพัฒนาแคมเปญ พร้อมทั้งร่วมแสดงข้อความรณรงค์ผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตสาขา 38 แห่ง ทั่วประเทศ

“การกลับมาทำงานของผู้หญิงเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ แคมเปญ #6la เล็งเห็นปัญหาที่ทั่วโลกเผชิญนี้ จึงเข้าไปสร้างการมีส่วนร่วมกับบริษัทชั้นนำต่างๆ ในเมียนมา ซึ่งการริเริ่มดังกล่าวนั้นประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ เพราะสามารถจัดการกับอุปสรรคแท้จริงที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างการต้องกลับมาทำงานในช่วงหลังคลอดลูกในระยะเวลาอันสั้น จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ได้พิสูจน์แล้วว่านี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญของการรณรงค์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรกับการให้นมแม่เพิ่มมากขึ้นในเมียนมาได้ต่อไปในอนาคต” โรเจอร์ มาทิเซน ผู้อำนวยการองค์กร Alive & Thrive ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

การเข้าถึงผู้คนเกือบ 20 ล้านคนในเมียนมา ภายในระยะเวลา 3 เดือน ทำให้ แคมเปญ #6la ช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด การทดสอบก่อนและหลังแคมเปญพบว่า 3 ใน 5 ของกลุ่มเป้าหมายรู้จักและจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น และกว่า 97% ของพวกเขายอมรับว่าสิ่งที่จะทำให้เด็กแรกเกิดเติบโตมาอย่างแข็งแกร่ง แข็งแรง ฉลาด และมีความสุขที่สุด คือการได้รับนมจากเต้านมของแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต แคมเปญ #6la คงไม่สามารถเป็นที่จดจำของสาธารณชนได้มากขนาดนี้ หากปราศจากความร่วมมือจากภาคเอกชนและความช่วยเหลือที่แข็งแกร่งจากภาครัฐ ความร่วมมือที่มีค่านี้ แสดงให้เห็นถึงความสนใจร่วมกัน ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเด็ก ๆ ในเมียนมา” นางจูโน คุนุงิ ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศเมียนมา กล่าว “เราหวังว่าผู้มีส่วนร่วมทุกคนจะทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายผลการแก้ไขปัญหาทางโภชนาการ ผ่านโครงการนวัตกรรมที่คล้าย ๆ กันนี้ อย่าง #6la ถือเป็นโครงการตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม แสดงให้เห็นถึงพลังของการสื่อสาร ที่สามารถจุดประกายการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมา จากความร่วมมือของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย ที่ทำงานภายใต้หนึ่งข้อความที่มีพลัง"

แรงกระเพื่อมที่เกิดจากแคมเปญดังกล่าวยังต่อจะมีต่อไปอีกอย่างต่อเนื่อง หลังจากโครงการนี้ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา (MOHS) วางแผนที่จะดำเนินการรณรงค์ต่อไปและจะทำการสื่อสารให้เข้าถึงเหล่าคุณแม่ รวมถึงผู้สนับสนุนของพวกเขาในประเทศเมียนมาให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น โปรดติดตามกิจกรรมดีดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ -จบ- เกี่ยวกับ วีโร่ วีโร่ เป็นผู้ให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ โซเชียลมีเดีย ดิจิทัล และการตลาด ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มเอเจนซี่ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวีโร่ เป็นเอเจนซี่อิสระ ที่ให้พนักงานเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้วยตนเอง วีโร่ มีสำนักงานในเมียนมา ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งมีผลงานครอบคลุมทุกตลาดสำคัญในภูมิภาคอาเซียน มีพนักงานประมาณ 100 คนประจำอยู่ในภูมิภาคอาเซียน ประกอบไปด้วย ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ผู้จัดการด้านโซเชียลมีเดีย ผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาแบบดิจิทัล ผู้ดำเนินงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมวลชนสัมพันธ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีโร่ กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.vero-asean.com เกี่ยวกับบริดจ์ (Bridge) บริดจ์ คือเอเจนซี่ที่ใช้กลยุทธ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เชี่ยวชาญในการออกแบบและวางแผนการสื่อสาร เพื่อการรณรงค์และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งความคิดริเริ่มเหล่านี้เกิดจากการทำร่วมกันภายในองค์กรของทีมงานชาวเมียนมารุ่นบุกเบิก ร่วมกับบรรดานักกลยุทธ์ และนักสร้างสรรค์จากเวทีนานาชาติ ที่มาจากองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่าง WPP, BBC, Proximity, PSI, Vice, Nike, and Channel 4 (UK) และดำเนินงานผ่านเครือข่ายของเมียนมา และพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาค

นอกจากนี้ Bridge ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม จากความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศ องค์กรเพื่อการพัฒนา และบริษัทเอกชนที่มีแนวคิดกว้างไกล เกี่ยวกับองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ก่อตั้งขึ้นในเมียนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 เพื่อช่วยให้เด็กเข้าถึงการบริการที่จำเป็นและสำคัญ อย่างเช่น ระบบสาธารณสุข และ การศึกษา นับแต่นั้นเป็นต้นมา องค์การช่วยเหลือเด็ก ได้ขยายการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อที่จะสนับสนุนกลุ่มเด็กและครอบครัวที่ด้อยโอกาสให้ได้เข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการ การจ้างงานที่ก่อให้เกิดรายได้ การบริการด้านการเงิน ความปลอดภัยในชุมชน สิทธิเสรีภาพของเด็ก น้ำสะอาด การสุขาภิบาลที่ดี การควบคุมโรคมาลาเรียและวัณโรค รวมถึงการรักษาเอชไอวี (HIV) และเอดส์ (AIDS) ซึ่งโครงการขององค์กรเราได้รับผลตอบรับที่ดีทั้งด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับเด็ก ครอบครัว และชุมชน ทำให้ องค์การช่วยเหลือเด็กได้มีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบายที่สำคัญหลักๆ ในระดับประเทศ เกี่ยวกับยูนิเซฟ ยูนิเซฟทำงานร่วมกับรัฐบาล และประชาชนชาวเมียนมามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 โดยให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และภาคประชาสังคม การทำงานของยูนิเซฟในปัจจุบัน มุ่งที่จะลดอัตราการตายของเด็ก ปรับปรุงการเข้าถึงทรัพยากร และพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมถึงปกป้องเด็กจากความรุนแรง การทารุณกรรม และการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมที่ www.unicef.org/myanmar เกี่ยวกับองค์กร Alive & Thrive องค์กรAlive & Thrive (A&T) เป็นองค์กรด้านโภชนาการระดับโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยชีวิต ป้องกันความเจ็บป่วย และสร้างการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงให้กับแม่และเด็ก โดยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 -2557 A&T ได้พิสูจน์ว่าการพัฒนาการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก (IYCF) อย่างรวดเร็วมีความเป็นไปได้ แม้จะอยู่ในขอบเขตที่มีความหลากหลายอย่าง ประเทศเอธิโอเปีย บังกลาเทศ และเวียดนาม ในปีพ.ศ. 2567 A&T เริ่มทำงานในประเทศบูร์กินาฟาโซ อินเดีย ไนจีเรีย และประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขยายขอบเขตโครงการไปยังการพัฒนาโภชนาการในแม่และวัยรุ่น โดยใช้การเกษตรกรรมและโปรแกรมการป้องกันทางสังคมเป็นกลไกสำคัญสำหรับการพัฒนาโภชนาการในแม่ ทารก และเด็กเล็ก (MIYCN) ในปัจจุบัน A&T ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่มีและฐานความรู้ที่แข็งแกร่ง ในการเสริมสร้างระบบ และสร้างขีดความสามารถในการดำเนินการช่วยเหลือให้กับประเทศเหล่านี้และประเทศอื่นๆ ทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและเอเชีย นอกจากนี้ยังเผยแพร่นวัตกรรม เครื่องมือ และบทเรียนที่ A&T ได้คิดค้นไปยังทั่วโลกอีกด้วย โครงการ Alive & Thrive ดำเนินการโดย FHI 360 ปัจจุบันได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิ Bill & Melinda Gates มูลนิธิ Irish Aid มูลนิธิ Tanoto และ UNICEF ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่มชม https://www.aliveandthrive.org/

10-07-2019 14:06

aphondaworathan