ราช กรุ๊ป : ผู้นำป่าชุมชนภาคใต้ สืบสานศาสตร์พระราชา “แกล้งดิน” แนวทางการอนุรักษ์ดินเพื่อป่าสมบูรณ์
การสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนภาคใต้ ในโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ที่จัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา โดยความร่วมมือของกรมป่าไม้และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้น้อมนำพระราชดำริ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการกำหนดสาระของกิจกรรมครั้งนี้ โดยการสืบสานและรักษาแนวทฤษฎีแกล้งดินในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อให้ผู้นำป่าชุมชนจาก 8 จังหวัดภาคใต้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 80 คน ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาป่าชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
ป่าไม้เป็นแหล่งสำคัญที่สร้างความสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะแตกต่างกันตามปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพของพื้นที่ “ดิน-น้ำ-ป่า” มีความเชื่อมโยงอันเป็นวัฏจักร ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกันและกันอย่างแยกไม่ออก หากดินดี ป่าก็จะอุดมสมบูรณ์ สามารถกักเก็บน้ำ ช่วยรักษาสภาพดินและคุณค่าของธาตุอาหารในดินให้ต้นไม้ในป่าเจริญเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
การรักษาสมดุลธรรมชาติของ ดิน-น้ำ-ป่า คือ การรักษาชีวิต และเป็นเรื่องหลักที่เราทุกคนต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญ และเร่งลงมือทำ การสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนภาคใต้ ในโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ที่จัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา โดยความร่วมมือของกรมป่าไม้และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้น้อมนำพระราชดำริ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการกำหนดสาระของกิจกรรมครั้งนี้ โดยการสืบสานและรักษาแนวทฤษฎีแกล้งดินในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อให้ผู้นำป่าชุมชนจาก 8 จังหวัดภาคใต้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 80 คน ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาป่าชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
นางบุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การอนุรักษ์ดิน เป็นประเด็นสาระที่ผู้นำป่าชุมชนจะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับวิทยากรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมากจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะศาสตร์พระราชา “แกล้งดิน” ซึ่งเป็นทฤษฎีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินพรุ อันเป็นสภาพดินที่พบมากในภาคใต้ และได้ผลเป็นที่ประจักษ์ สามารถพัฒนาทรัพยากรดินที่เพิ่มพูนป่าไม้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนด้วย “ดิน คือ อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กสำหรับพืช และยังเป็นปัจจัยที่ทำให้สภาพป่าของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ป่าที่มีสภาพดินเปรี้ยว หรือป่าพรุ แม้จะมีพันธุ์ไม้ที่ทนทานต่อความเป็นกรดสูงเติบโตได้ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของป่าหรือความหลากหลายของพันธุ์พืชจะไม่มากเท่ากับป่าชนิดอื่น ดังนั้น องค์ความรู้ในการพัฒนาดินจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ที่นำมาถ่ายทอดในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้นำป่าชุมชนสามารถนำไปทดลอง ปรับปรุงดิน และขยายผล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาป่าชุมชน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนต่อไปได้”
สำหรับการสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนดำเนินการภายใต้โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน มาตั้งปี 2551 ครั้งนี้เป็น รุ่นที่ 22 นอกจากองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ดินแล้ว ผู้นำป่าชุมชนยังจะได้รู้และเข้าใจสาระสำคัญของพระราชบัญญัติ ป่าชุมชน อีกทั้งยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าที่ศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าจะนะ ด้วย “บริษัทฯ ตั้งใจที่จะทำให้กิจกรรมการสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนกล้ายิ้ม เป็นโอกาสให้ผู้นำป่าชุมชนได้มาเรียนรู้ องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการป่าชุมชน จุดประกายการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของคนที่มีใจอนุรักษ์ร่วมกัน โดยประสบการณ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาการจัดการป่าชุมชน และขยายผลไปสู่สังคมวงกว้างมากขึ้น” นางบุญทิวา กล่าว ปิดท้าย