http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา
World Content

Solar Tower

ที่มาของโครงการ
บริษัทEnviroMission เริ่มต้นเมกะโปรเจคนี้ในปี2001 และได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลออสเตรเลีย โดยเริ่มดำเนินการสำรวจหาสถานที่ก่อสร้างตึกยักษ์ สูง1 กิโลเมตร " Solar Tower " มูลค่ากว่า 25,000ล้านบาทเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แห่งแรกของโลก และได้พบสถานที่ ที่เหมาะสม นั้นคือ Buronga อันสุดแสนทุรกันดาร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้างใหญ่และแห้งแล้ง จึงเหมาะอย่างยิ่งในการตั้งสถานีรับพลังงานแสงอาทิตย์

หลักเบื้องต้นของเทคโนโลยี Solar Tower
ใช้หลักปรากฎการณ์เรือนกระจกเพื่อผลิตอากาศร้อนจากพื้นราบ และเหนี่ยวนำเอาอากาศร้อนผ่านกังหันปั่นไฟขึ้นสู่ปล่องด้านบน โดยในเวลากลางวันอุณหภูมิอากาศจะสูงถึง 65 องศาเซลเซียส และมีความเร็ว 35 ไมล์/ชม. สาเหตุที่ต้องสร้างให้มีตึกสูงคล้ายปล่องไฟเนื่องจากต้องการสร้างความแตก ต่างของอุณหภูมิ ความหนานแน่น และความดันอากาศ จนก่อให้เกิดแรงเหนี่ยวนำมวลอากาศร้อนจำนวนมหาศาล จากพื้นราบผ่านกังหันปั่นไฟที่ติดตั้งไว้โดยรอบจำนวน32ตัว ตัวละ6.25MW ขึ้นสู่ปล่องที่สร้างเป็นตึกสูง1กิโลเมตร และแม้แต่ในเวลากลางคืนระบบยังสามารถปลดปล่อยความร้อนจากภายในเพื่อใช้ปั่น กังหันได้เช่นกัน ส่งผลให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตลอด24ชม.

ประโยชน์และข้อได้เปรียบ
สถานีผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิต 200MW เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยัง 200,000 ครัวเรือนเทียบเท่าเมืองหลวงของTasmania หรือเมืองGeelong ชานเมืองใหญ่ของนครหลวง Victoria, ออสเตรเลีย ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่า 900,000 ตัน คาร์บอน ไม่ใช้พลังงานฟอสซิลในกระบวนการผลิต
สถานภาพของโครงการ Solar Tower เดิมที คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2549 (2006) แต่ติดปัญหาโรคเลื่อนและแหล่งงบประมาณมหาศาล มากกว่า25,000ล้านบาทที่ยังไม่มีข้อสรุป ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในระยะสุดท้าย และเตรียมดำเนินการออกแบบก่อสร้างในไม่ช้า

Solar Tower ต้นแบบ
เทคโนโลยีSolar Tower มีมานานหลาย10ปีแล้วนะครับ แต่เป็นเพียงระบบต้นแบบขนาดเล็กๆที่สามารถใช้งานได้จริง มีกำลังผลิต 50kW ถูกสร้างขึ้นและทดสอบที่ Manzanares สเปน.ในปี1982 -1989 โดยโครงการนำร่องนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสเปนและนักออกแบบชาว เยอรมัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.energybase.net/SolarTower.html

aphondaworathan