http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา
World Content

CSR ของผู้ประกอบการญี่ปุ่น

การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) ของผู้ประกอบการญี่ปุ่น

การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) ของผู้ประกอบการญี่ปุ่น

1. ภาพรวม

1.1การบริหารจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของในการบริหารจัดการของบริษัทญี่ปุ่นซึ่งได้รับ การส่งเสริมอย่างต่อเนื่องโดยสมาพันธ์องค์กรธุรกิจญี่ปุ่น (Nippon Keidanren) นับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน

1.2 เมื่อปี 2534 สมาพันธ์องค์กรธุรกิจญี่ปุ่นได้จัดทำกฎบัตรความประพฤติของผู้ประกอบการ (Corporate Behaviour Charter) ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขเมื่อปี 2539 2545 และ 2547 โดยกำหนดให้บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์องค์กรธุรกิจต้องดำเนินธุรกิจโดย คำนึงถึงการพัฒนาสังคมโดยการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมใน การประกอบธุรกิจ และคำนึงถึงการเจริญเติบโตทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม

1.3 การดำเนินการของสมาพันธ์องค์กรธุรกิจญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริม CSR มี เช่น

    * การจัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมดูแลความประพฤติของธุรกิจ(Corporate Behavior Committee) และคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสังคม (Committee for the Promotion of Contribution to Society)

    * การจัดทำรายงานและเผยแพร่ข้อมูลความคืบหน้าการจัดทำแนวทางในการเสริมสร้าง ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsible) ขององค์การมาตรฐานสากล (International Organization for Standardization หรือISO)

    * การจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน CSR ของบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการของแต่ละบริษัทได้รับทราบแนวโน้มการดำเนินการของบริษัท อื่น ๆ

นอกจากนี้ ในปี 2533 สมาพันธ์องค์กรธุรกิจญี่ปุ่นได้จัดตั้ง 1%Club[1]โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนบริษัทหรือบุคคลที่นำ 1% ของกำไรหรือรายได้ไปใช้ในกิจกรรมที่ส่งเสริมหรือช่วยเหลือสังคม รวมทั้งจัดกิจกรรมอาสาสมัครและการกุศล ระหว่างสมาชิก โดยล่าสุดมีบริษัทที่สมัครเป็นสมาชิกจำนวน 266 บริษัท และผู้ที่สมัครสมาชิกเป็นรายบุคคลมีจำนวน 940 คน

1.4 นอกเหนือจากแนวทางในการจัดทำ CSR ตามที่ระบุโดยสมาพันธุ์องค์กรธุรกิจญี่ปุ่นข้างต้น ร้อยละ 70 ของบริษัทญี่ปุ่นดำเนินการด้าน CSR ตาม GRI Guidelines ฉบับที่ 3 (GRI-Global Reporting Initiative ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non Profit Organization: NPO) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกับ UNEP – United Nations Environment Program ปัจจุบัน ตีพิมพ์ในปี 2549 ทั้งนี้ ตามแนวทางของ GRI Guidelines ดังกล่าว สิ่งที่บริษัทต้องคำนึงถึง ได้แก่

 

    * เรื่อง Evenly Balanced Reporting and Disclosure หรือความสมดุล / ทัดเทียมกันของรายงานและเปิดเผยข้อมูล 3 ด้าน ระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

    * เรื่อง Materiality หรือ Stakeholder inclusiveness คือ การให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการระบุชนิดของกิจกรรม CSR และประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัท

    * เรื่อง Global Sustainability หรือ การดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของโลก ไม่ใช่เพียงแค่ระดับท้องถิ่น เช่น ปัญหาโลกร้อน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น

 

2. ตัวอย่างการดำเนินงานด้าน CSR ของบริษัทญี่ปุ่น

2.1 บริษัทโตโยต้า (TOYOTA)

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

ก่อตั้งเมื่อปี 2480 โดยเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นมีความสามารถ ในการผลิตรถได้ประมาณแปดล้านคันต่อปี และได้เคยถูกจัดลำดับโดยนิตยสาร Fortuneให้เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อันดับสองของโลกรองจากบริษัท General Motor (GM)

การดำเนินการด้าน CSR

โตโยต้าให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้าน CSR โดยนอกจากจะยึดหลักปฏิบัติตามกฎบัตรความประพฤติของผู้ประกอบการของสมาพันธ์ องค์กรธุรกิจญี่ปุ่นแล้ว ในปี 2551 ได้ออกนโยบายด้าน CSR (CSR POLICY: Contribution towards Sustainable Development) โดยเน้นความสำคัญของลูกค้า พนักงาน หุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ประกอบการ ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือสังคม โดยได้จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัท (Sustainability Report)

โตโยต้าได้ก่อตั้งมูลนิธิโตโยต้า (Toyota Foundation) ขึ้นตั้งแต่ปี 2517 เพื่อให้ทุนศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือสังคม โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินกิจกรรม CSR ผ่านทางธุรกิจการผลิตยานยนต์และก่อสร้างที่พักอาศัย โดยคำนึงถึงการช่วยทำให้สังคมดีขึ้นในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจ  โตโยต้าได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ Forest of Toyota ในจังหวัดไอจิ และ Toyota Shirakawa-Go Eco-institute ในหมู่บ้านชิราคาวา จังหวัดกิฟุ เพื่อทำการศึกษาการใช้พลังงานธรรมชาติและวิธีการอยู่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติ กับมนุษย์  โครงการ Toyota Environmental Activities Grant Programเพื่อให้การสนับสนุน NPO / NGO ทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โตโยต้าเคยได้รับรางวัล Global 500 Award จากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) เมื่อปี 2542 และเป็นบริษัทแรกในโลกที่ผลิตรถยนต์ Hybrid ขายเป็นจำนวนมาก  แนวทางการต่อยอดธุรกิจในปัจจุบันของบริษัทโตโยต้ายังคงคำนึงถึงเรื่องของ ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย  สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและแหล่งพลังงาน ด้วย

2.2 บริษัทโตชิบา (TOSHIBA)

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2418 โดยมีผลิตภัณฑ์หลักเกี่ยวกับเครื่องใช้ อุปกรณ์ ส่วนประกอบไฟฟ้าและพลังงาน เป็นบริษัทที่มียอดขายคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊คสูงที่สุด 5 อันดับแรกของโลก[3]และเป็นหนึ่งใน 20 ผู้นำที่มียอดขายสารกึ่งนำ (Semiconductor) มากที่สุดของโลก

การดำเนินการด้าน CSR

โตชิบาให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้าน CSR โดยลงนามเป็นสมาชิกใน United Nation Global Compact ในปี 2547 ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยบริษัทได้ใช้ระบบ e-learning เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน CSR ของบริษัทได้ตลอดทั้งปี และมีการจัดอบรมประจำปีแก่พนักงานแรกเข้า วิศวกร และผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งมีการตรวจสอบการดำเนินงานโดยหน่วยงานภายในและภายนอก และจัดทำรายงานการดำเนินงานด้าน CSR เป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ เมื่อปี 2550โตชิบาได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อควบคุมการบริหารจัดการด้าน CSRซึ่งได้จัดทำแผนการดำเนินงานด้าน CSRระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 25512553โดยมีการจัดตั้งเป้าหมายการดำเนินงานในแต่ละปีงบประมาณ           

2.3 บริษัทชิเซโด (Shiseido)

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

ก่อตั้งขึ้นในปี 2415 โดยเป็นบริษัทผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่เก่าแก่ที่สุดและมี ยอดขายมากเป็นอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น รวมทั้งได้รับการยอมรับจากบริษัทเครื่องสำอางต่าง ๆ ทั่วโลก

การดำเนินการด้าน CSR

 

ในปี 2535 ชิเซโดได้จัดทำนโยบาย Shiseido Eco Policy เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการของบริษัทโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้วัสดุธรรมชาติ การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะไม่เป็นภาระกับสิ่งแวดล้อม การสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมแก่พนักงาน การส่งเสริมการทำงานอย่างใกล้ชิดกับสังคมและชุมชนและได้จัดทำมาตรฐานในการ ดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายต่าง ๆ สำหรับบริษัทชิเซโดในทุกสาขาทั่วโลก ทั้งนี้ ในปี 2552 บริษัทชิเซโดได้รับการยกย่องให้เป็น Eco-First Company เป็นบริษัทแรกในบรรดาบริษัทประเภทเครื่องสำอางซึ่งได้รับการยอมรับ โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น

aphondaworathan