http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา
CSR เด่น

ทช.ผนึก'จุฬาฯ-ไทยออยล์' ฟื้น'ปะการัง'รอบเกาะสีชัง

ทช.ผนึก'จุฬาฯ-ไทยออยล์' ฟื้น'ปะการัง'รอบเกาะสีชัง

ผลจากปัญหาสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณเกาะสีชัง หากไม่มีมาตรการใดๆ เข้ามาแก้วิกฤติ จะส่งผลกร

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ฟื้นฟูแนวปะการังให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์  โดยได้เริ่มศึกษาและดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 มีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปะการังในโรงเพาะอย่างน้อยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ก่อนนำลงสู่ธรรมชาติ  โดยผลคาดว่าจะได้รับหลังสิ้นสุดโครงการจะสามารถฟื้นฟูแนวปะการังได้ถึง 250 ไร่รอบชายฝั่งของเกาะสีชัง

ดร.นลินี ทองแถม นักวิชาการประมงชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปะการัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุถึงสาเหตุการเกิดปะการังฟอกขาว เนื่องจากมาจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปะการังมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จึงปล่อยสารบางอย่างออกมา หากอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้ปะการังตายในที่สุด โดยการฟื้นฟูจะมี 2 วิธีการคือการย้ายปลูกปะการัง และการเพิ่มพื้นที่ลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง นอกจากนี้ยังมีการเพาะขยายพันธุ์จากเซลล์สืบพันธุ์ของปะการัง ซึ่งในปัจจุบันในหลายประเทศได้มีการดำเนินงานกันอย่างแพร่หลาย

ด้าน นายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการ ด้านบริหารองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการฟื้นฟูปะการังร่วมกับองค์กรภาครัฐว่าเป็นนโยบายที่บริษัทให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งบนฝั่งและในทะเล สาเหตุที่เลือกพื้นที่นี้เนื่องจากพื้นที่แนวปะการังหมู่เกาะสีชังมี 0.63 ตารางกิโลเมตร มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ประมาณกว่า 11 ล้านตัว จึงมีคุณค่าทางระบบนิเวศและความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศอย่างมาก

ทั้งนี้ โครงการได้ติดตั้งทุ่นผูกเรือ และติดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการเป็นทุ่นลอยน้ำ ล้อมรอบบริเวณแนวปะการังที่จะทำการฟื้นฟู โดยพื้นที่ที่ใช้ในการวางทุ่นลอยน้ำมี 2 จุด คือทิศเหนือของเกาะขามใหญ่ และบริเวณหน้าสถานีวิจัยเกาะสีชัง สำหรับการอนุบาลกิ่งพันธุ์ของปะการังแบบไม่อาศัยเพศ จะให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและดูแลทุ่นลอยน้ำ ซึ่งจะสามารถสร้างสมดุลทางธรรมชาติให้กลับมาสู่ทะเลไทยอีกครั้งหนึ่ง

 

ที่มา: http://www.corehoononline.com/index.php/2010-04-19-03-30-47/2011-03-14-06-27-29/23483-2011-07-15-10-46-36

 

 

aphondaworathan