http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา
ข่าว CSR

GGC ตั้งกลุ่ม กรีนอีสานปาล์ม สนับสนุนเกษตรกรปลูกปาล์มตามมาตรฐาน RSPO

GGC ตั้งกลุ่ม กรีนอีสานปาล์ม สนับสนุนเกษตรกรปลูกปาล์มตามมาตรฐาน RSPO
มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรและชุมชน ต่อยอดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

    

26 กันยายน 2559, กรุงเทพฯ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ผู้บุกเบิกในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ในกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) เดินหน้าสนับสนุนการทำเกษตรกรรมสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พร้อมประสานความร่วมมือพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมร่วม จัดตั้งกลุ่ม กรีนอีสานปาล์มดำเนินงานส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน โดยปฏิบัติตามมาตรฐานสากล RSPO (Roundtable on Suatainable Palm Oil) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ เตรียมฉลองความสำเร็จ 10,000 ไร่ ปลายปีนี้ และตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกที่ได้มาตรฐานจำนวนหนึ่งล้านไร่

นายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และสามารถเพาะปลูกได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย คือมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์และมีฝนตกชุกโดยทั่วไป ซึ่งหลายคนไม่ทราบเรื่องนี้ เราขึ้นมาสำรวจพื้นที่นี้หลายปีแล้ว และศึกษาจนมั่นใจว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกปาล์มได้ จึงเริ่มหาพันธมิตรเพื่อสรางการรับรู้อย่างจริงจัง เรามองว่าปาล์มเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง จึงอยากจะให้เกษตรกรในพื้นที่นี้ได้ปลูกกันเพื่อยกระดับรายได้ และการที่น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบในการผลิตของเรา ทั้งเมทิลเอสเทอร์ (Methyl Ester) หรือ B100 ซึ่งนำไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซล เชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงแฟตตี้แอลกอฮอลส์ (Fatty Alcohols) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำคัญที่นำไปใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมต่างๆ และกลีเซอรีน เราก็มองว่าได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

แฟตตี้แอลกอฮอลส์เป็นผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีขั้นพื้นฐานที่ถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน แชมพู ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไปภายในครัวเรือน ซึ่งแฟตตี้แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม จะมีโครงสร้างทางเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิต สืบเนื่องจากแนวโน้มความใส่ใจสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากโอลีโอขั้นพื้นฐานอย่างแฟตตี้แอลกอฮอลส์แล้ว น้ำมันปาล์มยังเป็นวัตถุดิบในการผลิตโอลีโอเคมีชนิดพิเศษ (Specialty Oleochemicals) ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอีกด้วย

GGC มองเห็นโอกาสที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมาปลูกปาล์มกันมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีอนาคต โดยยังสามารถทำการเกษตรแบบผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งข้าว มันสำปะหลัง ฯลฯ แต่เราไม่ใช่คนปลูกปาล์มเอง จุดยืนของเราชัดเจนว่าเราเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เราจึงได้ชักชวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ บริษัท อีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม มาร่วมมือกันเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะมีอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยได้จัดตั้งกลุ่มกรีนอีสานปาล์มในการผลักดันและส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกรวมหลายหมื่นไร่ มีการตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแห่งแรกขึ้นที่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้เราได้นำมาตรฐาน RSPO ซึ่งมีข้อกำหนดหลายประการ รวมถึงการห้ามปลูกปาล์มในพื้นที่บุกรุก มาใช้ในกระบวนการจัดการ ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมปาล์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล นายจิรวัฒน์ กล่าวเสริม

นายบรม เอ่งฉ้วน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด กล่าวว่า เพื่อให้การบริหารจัดการกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจึงจัดตั้งการดำเนินการในรูปแบบกลุ่มกรีนอีสานปาล์มขึ้นมา โดยเปิดรับเกษตรกรเข้ามาเป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษในด้านการให้ความรู้และคำแนะนำ พร้อมการดูแลจากนักวิชาการผู้มีความรู้และประสบการณ์ตรงจากการทำเกษตรกรรมสวนปาล์มในภาคใต้ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนกล้าพันธุ์ปาล์มและปุ๋ยที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งในขั้นตอนนี้มี บริษัท โฮมปาล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งอยู่ในกลุ่ม บริษัท อีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการค้นคว้าและวิจัยการปลูกรวมทั้งการเพาะกล้าพันธุ์ปาล์มที่มีคุณภาพเหมาะสมกับพื้นที่ โดยได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนต่างๆ จาก GGC

นายกิตติชัย ศูนย์จันทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนกรีนอีสานปาล์ม กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า จากที่ได้ทดลองปลูกปาล์มน้ำมันนำร่องมาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ภายใต้คำแนะนำดูแลจากกลุ่มกรีนอีสานปาล์ม ในปัจจุบันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว และทำให้เกษตรกรรายอื่นๆ เริ่มให้ความสนใจหันมาปลูกปาล์มมากขึ้น ทั้งนี้การปลูกปาล์มสามารถทำแบบผสมผสานได้ โดยไม่ทำลายพื้นที่ปลูกข้าวหรือพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ และเชื่อว่าการปลูกปาล์มจะเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในอนาคต เพราะสามารถเก็บเกี่ยวสร้างรายได้ให้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 25-30 ปี อีกทั้งการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มกรีนอีสานปาล์ม จะมีระบบช่วยเหลือเกษตรกรครบวงจร ตั้งแต่การจัดหากล้าพันธุ์ที่มีคุณภาพ การให้ความรู้ในการดูแลสวนปาล์ม ไปจนถึงการมีจุดรับซื้อในพื้นที่

ในปัจจุบันมีเกษตรและผู้รับซื้อซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มกรีนอีสานปาล์มกว่า 600 ราย และมีผลผลิตป้อนให้กับโรงงานสกัดน้ำมันซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการสร้างงานในชุมชนจากธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทำให้เกษตรมีรายได้ที่แน่นอนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ GGC ในการเป็นผู้นำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างคุณค่าให้กับสังคมอย่างยั่งยืน พร้อมเดินหน้าเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve)  ช่วยต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม และจะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทยทั้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อันจะเป็นการทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป โดยจากการที่ GGC เริ่มนำหลักการปลูกปาล์มตามมาตรฐาน RSPO มาใช้ เชื่อว่าจะสามารถมีพื้นที่ปลูกปาล์มที่ได้รับรองมาตรฐาน RSPO ภายในปีนี้ถึงหนึ่งหมื่นไร่ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มที่ได้การรับรองมาตรฐานดังกล่าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

 

เกี่ยวกับ GGC

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC (ชื่อเดิม บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด)  ผู้บุกเบิกด้านการผลิตผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีในประเทศไทยมากว่าหนึ่งทศวรรษ  ภายใต้วิสัยทัศน์แห่งการเป็นผู้นำด้านโอลีโอเคมีในตลาดโลก พร้อมกับการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจปลายน้ำที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) ตลอดจนผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เพื่อสร้าง    ความยั่งยืนให้กับภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศ

aphondaworathan