NISE เปิดตัว 9 องค์กรผู้นำรวมพลังกิจการเพื่อสังคมไทย พร้อมนำร่องมาตรฐานสากล GIIRS
NISE เปิดตัว 9 องค์กรผู้นำรวมพลังกิจการเพื่อสังคมไทย พร้อมนำร่องมาตรฐานสากล GIIRS
กิจการเพื่อสังคม NISE ได้จัดงาน Network of Impact Sustainable Enterprise Forum หรือ NISE Forum ขึ้นหัวข้อ “ Social Impact, A better way to do business” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ นับเป็นครั้งแรกที่องค์กรจากภาคส่วนต่างๆได้มารวมตัวกันเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อสังคมของประเทศไทย โดยในงานนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 55 ท่าน จากองค์กรภาครัฐ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ โรงงานยาสูบ สานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน อาทิ TMBAM บมจ. ปูนซีเมนต์ บมจ.ฮอนด้า องค์กรวิชาการและสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ- ศศินทร์ฯ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ฯลฯ รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ The Rockefeller Foundation Ashoka และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เป็นต้น
คุณชัยยุทธ์ ชานาญเลิศกิจ ผู้ก่อตั้งและประธานกิจการเพื่อสังคมไนส์ (NISE) กล่าวว่า “นับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ ธุรกิจ รวมพลังเพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้ดี ด้วยการนาทรัพยากรและความสามารถทางธุรกิจ มาพัฒนา “กลไก” และ “แนวทางปฏิบัติ” ของกิจการเพื่อสังคม ที่มีศักยภาพในการสร้างคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการเกิดขึ้นของภาคส่วนใหม่นี้จะสร้างนิยามใหม่ของ “การทาธุรกิจ” ที่มิได้สร้างเพียงกาไรเชิงการเงินเพียงอย่างเดียว แต่สร้างกาไรในเชิงสังคมอีกด้วย ในช่วงต้นของ NISE Forum จึงได้มีการนาเสนอแนวโน้มทิศทางการประกอบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในระดับนานาชาติ ภูมิภาคต่างๆของโลก ที่มีความตื่นตัว และดาเนินการไปมากแล้ว โดยคุณแพรรุ้ง อุนนาทรวรางกูร ผู้แทนจาก The Rockefeller Foundation ,Asia ลาดับต่อมาจึงได้นาเสนอตัวอย่างองค์กรในประเทศไทยที่มีทางานในลักษณะกิจการเพื่อสังคมในยุคแรกๆ ได้แก่ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ที่มีการดาเนินการในรูปแบบมูลนิธิ แต่ได้นาแนวคิดทางธุรกิจมาช่วยในการแก้ไขปัญหาสังคม
NISE Forum ได้มีการเปิดตัว 9 องค์กรนำร่องที่ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนากิจการเพื่อสังคมไทย โดยคุณสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงการรวมตัวของ 9 องค์กร NISE Founding Member ไว้ว่า “เป็นการรวมพลังของภาคธุรกิจที่หลากหลายทั้งประเภทธุรกิจ ขนาด และรูปแบบองค์กร ซึ่งล้วนมีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างพื้นที่และกลไกสนับสนุนการพัฒนากิจการเพื่อสังคม ตลอดจนร่วมกาหนดแนวทาง (Guideline) ในการดาเนินงาน และสร้างความเข้าใจต่อสังคมไทย นาโดยภาคส่วนกสิกรรม บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จากัด, สหกรณ์กลุ่มกรีนเนท จากัด, บริษัท สวิฟท์ จากัด ,ภาคส่วนประชาสังคม มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ, ด้านเทคโนโลยี บริษัท บีทามส์โซลูชั่น จากัด, ด้านสื่อ BeMagazine และด้านพลังงาน บริษัท ซูพรีม รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จากัด, บริษัทวังดุมเมาท์เทนแคมป์ จากัด, บริษัท โคโคบอร์ด
จากัด ในก้าวแรกนี้ เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงเจตนารมณ์ของ ธุรกิจ อย่างจริงจังที่ต้องการเป็นส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าขยายผลและแนวร่วมเครือข่าย NISE ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ” ข้อมูลสำคัญขององค์กรนาร่อง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบธุรกิจหลัก แรงบันดาลใจ สิ่งที่กระตุ้นจุดประกายแนวคิดในการประกอบกิจการเพื่อสังคม นวัตกรรมทางสังคมที่องค์กรได้สร้างขึ้นมา และผลกระทบต่อสังคม ข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกนาเสนอเป็นนิทรรศการภายในงาน สื่อวีดีทัศน์ และเอกสารเผยแพร่
นอกจากนี้ NISE ได้มีการเปิดตัว “ระบบมาตรฐาน GIIRS : Global Impact Investment Rating System” เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินผลประกอบการทางสังคมขององค์กรและบริษัทต่างๆได้อย่างเป็นมาตรฐานสากล ซึ่ง GIIRS ถูกพัฒนาขึ้นโดย บริษัท B lap ประเทศอเมริกา เริ่มมีการใช้ใน 195 องค์กรนาร่องทั่วทุกภูมิภาคของโลกแล้ว และประเทศไทยกาลังจะเริ่มใช้ใน 9 องค์กรนาร่องที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นอกจากนี้ NISE ได้เปิดรับองค์กรทุกภาคส่วนที่สนใจใช้ระบบ มาตรฐาน GIIRS สาระสำคัญของระบบนี้ จะประเมินตั้งแต่นโยบายถึงแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านธรรมาภิบาล ด้านการพนักงาน ด้านชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือ วัดถึงโมเดลธุรกิจที่มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เรียกได้ว่าระบบประเมินนี้จะเป็นอีกขั้นสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความชัดเจนและความโปร่งใสในแนวทางของกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจ มั่นใจ และไว้ใจ ต่อ ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และ สังคม ที่สำคัญจะเป็นกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรที่สามารถตอบโจทย์ทั้งเป้าหมายทางสังคมและความยั่งยืนทางการเงิน นอกเหนือจากการเป็นองค์กรที่มีใจประกอบกิจการเพื่อสังคมแล้ว ยังมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอีกด้วย
อีกช่วงที่สำคัญของงาน NISE Forum คือ เวทีเสวนา “ Social Impact, A better way to do business” ดาเนินการโดย ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ เป็นเวทีกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจจากผู้เข้าร่วมเสวนา คุณสุวรรณา จิวัฒนไพบูลย์ บริษัทซองเดอร์ไทยออร์กานิคฟูด จากัด เน้น“ทำธุรกิจด้วยจิตที่ดี” ประกอบกิจการเพื่อสังคมด้วยการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคน และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ ปัจจุบันซองเดอร์เป็นที่ยอมรับด้านเกษตรอินทรีย์ และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ ส่วนคุณสุภาวดี หาญเมธี จากบริษัทรักลูกกรุ๊ป จากัด นั้นเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ครอบครัว ตลอดจนกลุ่มคนช่วงวัยต่างๆในสังคม จากประสบการณ์ทางวิชาชีพสื่อและด้านการเรียนรู้ที่สั่งสมเรื่อยมาตลอดระยะเวลา 30 ปี งานด้านการบริหารจัดการการเรียนรู้ จึงกลายเป็นขีดความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) ที่นามาสร้างขยายกิจการเพื่อสังคมให้เติบโตขึ้น โดยเน้นการรับทางานที่เป็นประโยชน์ต่อคน และสังคม ด้วยความร่วมมือขององค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชนที่มีเป้าหมายร่วมกัน
ทางด้านผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมที่เป็นคนรุ่นใหม่นั้น มีตัวอย่างจากคุณอารันดร์ อาชาพิลาส บริษัทชิล ชิล แคปปอตัล จากัด ที่จัดทานิตยสาร BE Magazine ขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนว่างงาน คนไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน ได้มีงานทาจากการขายนิตยสาร และบริษัทได้รับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ นามาทา “BE Supermarket” หรือตลาดนัดบาทเดียวให้คนจน คนด้อยโอกาสเหล่านี้ มีสิทธิ์ได้ซื้อของกินของใช้ในราคาบาทเดียว ถือเป็นการกระตุ้นให้คนทางาน เพื่อมีสวัสดิการชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิม
ไม่เพียงแต่องค์กรภาคธุรกิจเท่านั้น NGOs หลายแห่งได้หันมาประกอบกิจการเพื่อสังคมด้วยเช่นกัน ดังตัวอย่างมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยมีอาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดดิ์ เป็นผู้อานวยการ เริ่มจากโรงเรียนอาชีวะของคนพิการ ได้
ขยายงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคนพิการอย่างครบวงจร และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ งานช่างเขียนแบบ ทาขนม ฯลฯ และหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ไม่ใช่แค่เพียงให้ลูกศิษย์เรียนจบออกไปเป็นลูกจ้างสถานประกอบการต่างๆ แต่ยังได้ส่งเสริมให้ผู้พิการเป็นเจ้าของกิจการของตนเองทั้งรายกลุ่ม และรายเดี่ยวอีกด้วย อาจารย์สุภรธรรม มงคลสวัสดดิ์ กล่าวว่า กิจการเพื่อสังคมนั้น ต้องเน้นคุณภาพเป็นสำคัญ จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะทาให้กิจการนั้นๆสามารถดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
ในเวทีเสนาครั้งนี้ คุณสินี จักธรานนท์ ผู้อานวยการ Ashoka ได้กล่าวว่า กระบวนการของ Ashoka Followship นั้นถือเป็นการค้นหาผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมที่แท้จริงด้วยเช่นกัน Ashoka สนับสนุนให้คนที่ทาจริง เป็นตัวอย่างที่ดี สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆในสังคมช่วยกันแก้ไขปัญหาสังคมเชิงโครงสร้างต่อไป นอกจากนี้คุณสินี เห็นว่า การประกอบกิจการเพื่อสังคมส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในกิจการด้านการเกษตร อาหารเป็นหลัก ยังคงมีปัญหาสังคมเชิงโครงสร้างอีกหลากหลายมิติ อาทิเช่น ปัญหาด้านสิทธิของคนกลุ่มต่างๆ ปัญหาด้านสาธารณสุข เป็นต้น ที่ต้องการภาคธุรกิจเอกชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ซึ่งถือเป็นการสรุปท้ายของเวทีเสวนาที่ชักชวนให้ทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนากิจการเพื่อสังคมของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม และขยายผลสู่วงกว้างต่อไป
คุณอภิรักษ์ วรรณสาธพ ผู้ร่วมก่อตั้งกิจการไนส์คอร์ป กล่าวสรุปการจัดงาน NISE Forum ในครั้งนี้ ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม ที่ก้าวข้ามความรับผิดชอบต่อสังคม “Beyond CSR” ไปสู่การใช้วิถีทางธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม ด้วยความร่วมมือของกิจการเพื่อสังคมไนส์ร่วมกับ Blab และ GIIRS เพื่อพัฒนาระบบการจัดการและมาตรฐานในการประเมินผลกระทบทางสังคมในวันนี้จึงเปรียบเสมือนประตูเปิดทางสาหรับการขับเคลื่อนงานกิจการเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแกนนาของ NISE Founding Member ผสานกับเครือข่ายจากหลายภาคส่วนในวันนี้ จะเป็นรากฐานสนับสนุนและสร้างการเติบโตของกิจการเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน และมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ธุรกิจที่มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางสังคม ติดต่อทีมงานไนส์คอร์ปได้ที่ โทร 02-650-1129, 081-623-3001 info@nisecorporation.com www.nisecorporation.com
ซึ่งสามารถติดตามได้ทาง www.nisecorporation.come