http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา
ข่าว CSR

5,000 ชม.ปีนี้ จิตอาสา ทำดีของสตาร์บัคส์ไทย

 

5,000 ชม.ปีนี้ จิตอาสา ทำดีของสตาร์บัคส์ไทย

2-4 เมษายน 2554 —พนักงานสตาร์บัคส์ จะอาสาร่วมอุทิศเวลาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนในด้านต่างๆ ให้ได้อย่างน้อย 5,000 ชั่วโมง ภายในปีนี้ โดยร่วมกับ 4 องค์กรเพื่อสังคมของไทย มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล โครงการพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน ภายในปี 2558 สตาร์บัคส์ ประเทศไทย จะร่วมกับพนักงานสตาร์บัคส์ ทั่วโลก อุทิศเวลารวมให้ได้ไม่น้อยกว่า 1,000,000 ชั่วโมง เพื่อมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ภายใต้โครงการ Starbucks™ Shared Planet™

 มร. เมอร์เรย์ ดาร์ลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เป็นเวลากว่า 40 ปี  ที่สตาร์บัคส์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนที่สตาร์บัคส์ดำเนินธุรกิจอยู่ให้ดีขึ้น  และในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจรายหลักในประเทศไทย  สตาร์บัคส์ระลึกอยู่เสมอในการตอบแทนคืนสู่ชาวไทยและสังคมไทย ซึ่งเป็นชุมชนของสตาร์บัคส์  เราขอให้คำมั่นสัญญาที่จะร่วมกับพนักงานสตาร์บัคส์ ทั่วโลก ในการทำประโยชน์เพื่อชุมชนเป็นเวลารวมไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านชั่วโมง ภายในปี  2558  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับ สตาร์บัคส์ แชร์ แพลนเน็ต (Starbucks™ Shared Planet™)”

ในเดือนเมษายนนี้ พนักงาน สตาร์บัคส์  ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม เดือนแห่งการการช่วยเหลือสังคมสำหรับประเทศไทย ได้สนับสนุนให้พนักงานของร่วมสร้าง ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นสู่ชุมชนผ่านสี่องค์กรหลักนี้    สตาร์บัคส์กำลังดำเนินการตามเป้าหมายอย่างมุ่งมั่น ไม่เพียงแต่มอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าภายในร้านเท่านั้น   แต่ยังได้ให้คุณค่ากับการช่วยเหลือสังคมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของสตาร์บัคส์ ความเชื่อและคุณค่านี้ได้ฝังแน่นอยู่ในพนักงานของสตาร์บัคส์ทุกคน  โดยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา พนักงาน ของสตาร์บัคส์ ประเทศไทย ได้อุทิศเวลากว่า 4,315 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือชุมชน

สตาร์บัคส์ ได้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนนี้  นับเป็นหนึ่งในแนวทางภายใต้ สตาร์บัคส์ แชร์ แพลนเน็ต’ (Starbucks™ Shared Planet™) ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่มนุษยชาติและโลกของเรา ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 1) กระบวนการสรรหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม (Ethical Sourcing) 2) การมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Involvement) และ 3) การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (Environment Stewardship)

 

ที่มา:http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=6&ArticleID=6039&ModuleID=6&GroupID=365

 

aphondaworathan