SCCC 'ปูนอินทรี'ดันสินค้ากรีน 40% ในปี 2014 ชูสร้างอาคารสีเขียวลดการใช้พลังงาน
SCCC 'ปูนอินทรี'ดันสินค้ากรีน 40% ในปี 2014 ชูสร้างอาคารสีเขียวลดการใช้พลังงาน
หากเอ่ยถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้โลกใบนี้มีความสมดุล ซึ่งการอนุรักษ์ ไม่ใช่หน้าที่ของใครเพียงหนึ่งคน แต่ทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือปูนอินทรี เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยออกผลิตภัณฑ์และสินค้าเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างให้อยู่ในรูปแบบอนุรักษ์พลังงาน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้อาคารต่างๆ อีกด้วย
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานสัมมนา INSEE Influencer Seminar 2011 ภายใต้หัวข้อ The new dimension of Green Architecture in Thailand โดยได้รับเกียรติจาก คุณฟิลิป อาร์โต้ กรรม การผู้จัดการเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และบรรยาย
หัวข้อ "Growing Green Together" และ คุณจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร การตลาดและการขาย บรรยายหัวข้อ "Why do we choose GREEN?" นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ มาเป็นผู้บรรยาย อาทิวิรุฬห์รักษ์ (อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นางจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร การตลาดและการขาย บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือปูนอินทรี เปิดเผยว่า ทำไมเราถึงเลือกอาคารสีเขียว ซึ่งจะมีมุมมองของเจ้าของอาคารและมุมมองจากผู้เช่า สำหรับมุมมองของเจ้าของอาคารนั้นมองว่าอาคารสีเขียวสามารถสร้างความแตกต่างจากอาคารอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนด้านการจัดการ (ในด้านพลังงาน) รวมถึงบรรยากาศภายในอาคารมีคุณภาพสูงกว่าอาคารทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถดึงดูดผู้เช่า และช่วยเพิ่มอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าปกติเฉลี่ยถึง 20%
ในส่วนของมุมมองการเลือกอาคารสีเขียวจากผู้เช่านั้น โดยมีมุมมองว่าจะสามารถสร้างความสุขของผู้อยู่อาศัยรวมถึงพนักงาน ด้วยสุขภาพที่ดีขึ้นจากการทำงานภายในอาคารสีเขียว พนักงานจึงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนการบริหารอาคาร รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และยังเพิ่มผลประโยชน์ที่จะได้รับจากชุมชนอีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดการใช้พลังงานและต้นทุน อาคารสีเขียวยังมีส่วนโดยตรงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนขององค์กรอีกด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2014 ปูนอินทรีได้ตั้งเป้าสินค้ากรีน 40% ของรายได้ ซึ่งขณะนี้มีรายได้จากสินค้ากรีน 32% นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น นายพิชัย วงศ์ไวศยวรรณ (รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด) ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต (หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ผศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร (อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ดร.พร
"สำหรับรายได้ของเรา 100% ตอนนี้กว่า 30% เป็นกรีนแล้วก็คือสินค้าที่ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งขณะนี้เราลดไปแล้ว 12% เหตุผลที่เราจะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มีวิธีเดียวก็คือเราใช้มิกซ์ซีเมนต์เพิ่มขึ้น เมื่อผสมแล้วปูนก็มีคุณภาพดีขึ้น อย่างเช่น ผสมไฟแอสลงไป คุณสมบัติของไฟแอสก็จะทำให้มันไหลลื่นได้ง่ายเวลาฉาบก็ลื่นมากขึ้น เพราะว่าโมเลกุลของมันกลมเพราะฉะนั้นเทมันก็ไหลได้ดี ถ้าเราคิดว่าเราทำได้ที่ 40% และเรามีจีโอไซเคิลที่เราลงทุนแล้วเป็น 1,000 ล้านที่จะกำจัดของเสีย แต่เราก็ได้ความร้อนกลับเข้ามา"
นอกจากจีโอไซเคิลโปรดักส์ที่ปูนอินทรีทำแล้ว ยังทำเดสซีสดีคอเวอร์รี่ คือการนำเอาความร้อนกลับมาทำเป็นไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้พลังงาน ซึ่งถ้าหากเป็นโรงงานแห่งอื่นจะใช้น้ำมันดีเซลมาทำเป็นตัวความร้อน สำหรับกรีนโปรดักส์ที่ของปูนอินทรี อาทิ อินทรีปูนเขียว อินทรีแดง มอลต้า และก็ในส่วนของเร้ดดี้มิกซ์ คืออินทรีทูกรีน ดูลาเซม และดูลาครีท
สำหรับโปรดักส์ดูลาเซม หรือดูลาครีท ย่อมาจาก durability คือความทนทานกับน้ำเค็ม ซึ่งที่ต่างประเทศจะใช้สำหรับสร้างเสาสะพาน ปลูกบ้านริมน้ำเค็ม เพราะว่าบริษัทฯ ใช้วัตถุที่เหลือจากโรงงานเหล็ก หรือเรียกว่าตะกันของเหล็ก ส่วนโปรดักส์อินทรีทรูกรีตนั้นบริษัทแสนสิริทำเป็นที่จอดรถที่สโมสร โรงเรียนจิตลดาก็นำไปทำเป็นที่จอดรถเช่นกัน
"ในส่วนของแสนสิริก็จะมีความแปลกเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง คือว่าจะผูกแยกข้างบนด้วย โดยบนทรูกรีตปกติเราจะไม่สามารถปลูกหญ้าบนคอนกรีตได้ แต่ทรูกรีตมันมีความสามารถส่วนหนึ่งในเรื่องของน้ำซึมผ่านได้ สามารถให้สิ่งมีชีวิตไปเติบโตได้อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสีเขียวได้อีกด้วย"
นอกจากการผลิตในปัจจุบันแล้วบริษัทมีโปรดักส์อินทรีกรีนวอลล์ ซึ่งเป็นการโปรโมทเพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น เพราะว่าในเมืองจะหาพื้นที่สีเขียวในแนวราบได้ยากขึ้นแล้ว ซึ่งนำพื้นที่เหล่านั้นใช้ไปหมด ฉะนั้น บริษัทจึงได้แนวคิดสร้างในแนวเวอติคอลกรีน ซึ่งจะช่วยบ้าน อาคาร หรือโรงงานสามารถประหยัดพลังงานได้เพิ่มมากขึ้น
นางจันทนา กล่าวทิ้งท้ายว่า ขณะนี้มีหลายองค์กรที่พยายามพูดถึงเรื่อง Green Tax (ภาษีสิ่งแวดล้อม) ซึ่งทางบริษัทฯ คิดว่าควรจะมีกลุ่มชุมชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของใครคนหนึ่งเป็นคนทำ แต่จะต้องร่วมกันและควรจะต้องตระหนักถึงมีความสำคัญให้มากกว่านี้ โดยคิดว่าควรจะเป็นวาระของประเทศที่ควรจะลดพลังงาน โดยอยากฝากความหวังนี้แก่รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาพัฒนา
ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาในการทำ green concept ของบริษัทฯ มีการตอบรับของตลาดยังช้าอยู่ ซึ่งคาดว่าควรจะดีกว่านี้ โดยต้องไปทำ Green tax ให้ผู้ที่รับเหมาก่อสร้างถึงจะได้ สำหรับภาพรวมรายได้ของ บริษัทฯ ในปี 2010 ที่ผ่านมามีมูลค่า 21,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2011 คาดว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 10% ขณะนี้ในช่วงครึ่งปีแรกมีการเติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ตาม บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญ และดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ดังนั้นการออกแบบโปรดักส์ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานและต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังช่วยให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นเพื่อให้คงอยู่จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน สืบไป