การปฏิบัติแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วโลก
การปฏิบัติแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วโลก
CSR พัฒนาจากจุดเริ่มต้นในปี 1950 จนกลายมาเป็นพันธกิจหลักของภาคธุรกิจ มองย้อนกลับไปถึงการพัฒนาแนวคิดหลัก เช่น แนวทางที่ธุรกิจในแต่ละภูมิภาคนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ จะเห็นได้ว่า ไม่มีรูปแบบตายตัวหรือแม้กระทั่งคำตอบว่า อะไรที่ทำให้ธุรกิจในทุกภูมิภาคทั่วโลกยอมรับแนวคิดนี้
การทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงในยุโรป หมายความว่า องค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ยอมรับหลักการ CSR มากกว่าในอเมริกา อย่างไรก็ตามในระยะหลังมานี้องค์กรต่างๆในอเมริกาเล็งเห็นความจำเป็นของการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและเริ่มที่จะปรับตัวอย่างรวดเร็ว กระบวนการเหล่านี้นำมาสู่แนวคิดหลักที่ว่า CSR เป็นเรื่องจำเป็นในธุรกิจเช่นเดียวกับการดูแลพนักงาน นโยบายหลักของหลายองค์กรในอเมริกามีการรวมพันธสัญญาในเรื่องการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย ในทวีปเอเชียและอเมริกาใต้ แนวคิด CSR ยังไม่เป็นที่กล่าวถึงมากนัก แต่เนื่องจากหลักการทำธุรกิจในทั้งสองภูมิภาคนี้มีรูปแบบทุนนิยมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องจิตสาธารณะพื้นฐานอยู่แล้ว จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า ประเทศเหล่านั้นไม่มีการนำหลักความรับผิดชอบต่อสังคมมาปรับใช้เลย
แนวคิด CSR ในชาติตะวันตกไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้ในเอเชียและอเมริกาใต้อย่างกว้างขวางในช่วงแรก สืบเนื่องมากจากความไม่เข้าใจในแนวคิดนี้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาและยุโรปในช่วงแรกเช่นกัน อย่างไรก็ตามระยะหลังมานี้ อินเดียและบราซิลนำหลักการ CSR ไปปรับใช้ในการออกนโยบายเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม การมีสำนีกต่อสิ่งแวดล้อม ความเห็นใจเพื่อนมนุษย์และการใช้ทรัพยาการอย่างรู้คุณค่า
องค์การสหประชาชาติมีบาทบาทสำคัญในการสร้างความเข้าใจในแนวคิดหลักของ CSR ให้กับประชาคมโลกโดยมีการจัดตั้งกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ โดยมีหลักการกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกดำเนินกิจการซึ่งมีความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
ที่มา : https://www.managementstudyguide.com/csr-practice-around-the-world.htm