http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา
ข่าว CSR

AEPW ระดมทุนกว่าพันล้านดอลลาร์ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก

AEPW ระดมทุนกว่าพันล้านดอลลาร์ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก เปิดตัวครั้งแรกในไทยและอาเซียน



จากรูป ซ้ายไปขวา: ที่น่า รอวิค ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (ระดับนานาชาติ) ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี, เครก บุคเฮิลส์, จิม ซี วอร์ด รองประธานบริหารด้านความยั่งยืน เทคโนโลยี และกิจการร่วมค้า บริษัท ลีอองเดลบาเซิล, ชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี, อองตวน กรอนจ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการรีไซเคิลและการฟื้นฟู บริษัทสุเอซ เอเชีย, จอน เพนไรซ์ ประธานบริษัท ดาว ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, เบรนเดน เอดเจอร์ตัน ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัทยักษ์ใหญผู้ประกอบการห่วงโซ่พลาสติก จัดงานเสวนาเปิดตัวความร่วมมือ “Alliance to End Plastic Waste” (AEPW) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลก ครั้งแรกในไทย ระดมทุนกว่าพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ มุ่งเน้นการขจัดและจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทร โดยไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ประเทศที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก  ปัจจุบัน AEPW ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 40 บริษัท

สมาชิก AEPW ได้แก่ : บีเอเอสเอฟ, เบอร์รี่ โกลบอล, บราสเคม, เชฟรอน ฟิลลิปส์ เคมิคอล จำกัด, คลาเรียนท์, โคเวสโตร, ดาว, ดีเอสเอ็ม, เอ็กซอนโมบิล, บริษัท ฟอร์โมซ่า พลาสติก สหรัฐอเมริกา, เฮงเค็ล, ลีอองเดลบาเซิล, มิซูบิชิ เคมิคอล โฮลดิงส์, มิซูอิ เคมิคอล, โนวา เคมิคอลส์, อ็อกซี่เคม, โพลี่วัน, พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล, รีไลอันซ์ อินดัสทรีส์, ซาบิก, ซาซอล, สุเอซ, เชลล์, ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี, มิซูโตโม เคมีคอล, โททอล, วีโอเลีย, เวอร์ซาลีส์ (เครืออีเอ็นไอ), บริษัท อีเควต ปิโตรเคมี, บริษัท เจมินี่ คอร์ปอเรชั่น, กรุ๊ปโป โฟนิกส, มอนดิ, โนโวเล็คซ์, บริษัท เป๊ปซี่โค, ซีลด์แอร์ คอร์ปอเรท, บริษัท ซีโนแพ็ค, บริษัท เอสเคซี จำกัด, สโตรโรแพค, ทอมรา, และ บริษัท เวสเลค เคมิคอล


AEPW ร่วมกับสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD)  ตั้งเป้าระดมทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 5 ปี เพื่อพัฒนาแนวทางการการลดปริมาณและจัดการขยะพลาสติก รวมถึงส่งเสริมวิธีการจัดการหลังการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤติจากขยะพลาสติก

จากเวทีเสวนา พบว่ามีปัญหาหลายอย่างในการจัดการขยะพลาสติกในไทย และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น อาทิ ระบบการคัดแยกขยะ การจัดการที่ขาดความรู้ เช่น การทิ้งขยะและของเสียลงในแม่น้ำ ซึ่งจะทำให้ขยะไหลลงสู่มหาสมุทร รวมทั้งการขาดความเข้าใจและความรู้ในการจัดการกับพสาสติกที่ใช้แล้ว โดยการนำพลาสติกมารีไซเคิลจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกได้

กลยุทธิ์ของ AEPW มีกระบวนการการดำเนินงานอยู่บนรากฐาน 4 ด้านด้วยกัน คือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนานวัตกรรม การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วม รวมทั้งการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

ปัจจุบัน AEPW ให้ความสำคัญในการริเริ่มโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการจัดการขยะพลาสติก อาทิ เช่น การทำงานร่วมกับเมืองต่าง ๆ เพื่อวางแผนการจัดการแบบระบบบูรณาการในเขตเมืองใหญ่ที่ยังขาดโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบธุรกิจที่ป้องกันการเกิดขยะพลาสติกในมหาสมุทร โดยความร่วมมือต่างๆ เหล่านี้จะนำมาเป็นต้นแบบดำเนินการในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

“เราพบว่าขยะพลาสติกร้อยละ 60 ในมหาสมุทรมีต้นกำเนิดมาจาก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราเห็นตรงกันว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยต้องมีผู้นำที่มีความแข็งแกร่ง” นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวเสริม “เรามีกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จมากมาย โครงการนำร่องการจัดการขยะตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนวียน และการร่วมมือเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหากับหลายภาคส่วน ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0 (Smart Litter Trap 4.0)”

ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความท้าทายระดับโลกนี้ รัฐบาลไทยจึงได้ริเริ่มปฎิบัติการเชิงรุก เช่น การขับเคลื่อนนโยบาล ลด ละ เลิกการใช้ขยะพลาสติกสำหรับปี 2561 – 2573 โดยตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติกที่บางกว่า 36 ไมครอน รวมถึงใยสังเคราะห์ (Styrofoam) กล่องอาหารพลาสติก หลอดพลาสติก และแก้วพลาสติกใช้แล้วทิ้งภายในปี 2565 และตั้งเป้าลดขยะพลาสติกในมหาสมุทรในประเทศไทยให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี 2570

สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.endplasticwaste.org

 

aphondaworathan