http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

CSR เริ่มที่ใคร

บทความ

CSR เริ่มที่ใคร 



โดย ดุสิต รัชตเศรษฐนันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)   



ภายหลังจากที่ฝุ่นควันในบ้านเมืองเริ่มจางลง จิตใจของพวกเราหลาย ๆ คนที่เคยตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล ทุกข์โทรมมนัส ก็คงจะผ่อนคลายลงบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ที่น่าประทับใจเกิดขึ้นในสังคมไทยของเรา หลั่งไหลมาอย่างล้นหลาม

"เครือข่าย Facebook ระดมกันช่วยทำความสะอาดกรุงเทพฯ"

"ประชาชนร่วมกับกรุงเทพมหานคร รวมตัวกันไปช่วยทำความสะอาดถนน ราชประสงค์ และถนนละแวกใกล้เคียง"

"ฝรั่งย่านสาทร ออกมาช่วยเก็บกวาดถนน"

"ป๋อ ณัฐวุฒิ สะกิดใจ ทำเสื้อ "คนไทยรักกัน" แจกเพื่อน ๆ ในวงการกว่า 300 ตัว"

"พี่ดี้กับพี่ปรัชญา ช่วยกันทำเพลง ขอความสุข คืนกลับมา มีนักร้อง นักแสดงไปร่วมกันถ่ายทอดบทเพลงเกือบ 300 คน"

ยังมีอีกมากที่ไม่ได้กล่าวถึง ด้วยน้ำใจของทุกคนที่ออกมาช่วยเหลือกันนี้ เชื่อว่า ในไม่นานสังคมเราจะฝ่าเรื่องนี้ไปได้ก็ต้องขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมสร้างปรากฏการณ์ที่แสนงดงามทั้งหมดด้วยใจจริง สิ่งดีงามทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหมือนฟ้าหลังฝนนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของเรื่อง CSR ที่สามารถเกิดขึ้นจากใครก็ได้ อาชีพใดก็ได้ เชื้อชาติใดก็ได้ เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ได้ และหากมองต่อไปในระดับองค์กร ซึ่งประกอบด้วยส่วนงานต่าง ๆ

CSR อาจเริ่มจากบุคลากร จากส่วนงานใดก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือจากผู้บริหารระดับสูง เพียงแต่เมื่อเกิดการจุดประกายขึ้นมาแล้ว หน่วยงานหรือผู้บริหารที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้ไอเดียเล็ก ๆ เหล่านั้นเป็น
รูปธรรมขึ้นมา ไม่ต้องทุกไอเดียก็ได้ แต่ควรพิจารณาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขอเพียงความคิดนั้นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก็แล้วกัน เช่น น้อง ๆ ฝ่ายบัญชีช่วยกันรวบรวมกระดาษที่ถูกใช้แล้วหนึ่งด้านไป
reused ส่วนกระดาษที่ใช้

แล้วทั้ง 2 หน้าก็ส่งไปให้โรงเรียนคนตาบอดได้ใช้เขียนอักษรเบรลล์ โดยเริ่มในฝ่ายตัวเอง และนำเสนอให้ฝ่ายอื่น ๆ ได้ทำด้วย

หรือฝ่ายไอทีช่วยพัฒนาระบบสื่อสารในองค์กรให้สะดวกขึ้น ทำให้ลดการใช้กระดาษจดหมายได้มาก หัวหน้างานหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลอาจกระตุ้นเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในองค์กรได้ เช่นกัน โดยการระดมสมองการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ สอดแทรกไปกับกิจกรรมแรงงานสัมพันธ์ หรือการสื่อสาร ภายในบริษัทให้พนักงานได้รับสารไป พร้อม ๆ กัน

หลาย ๆ องค์กรที่เคยทำ team building activities, กิจกรรมละลายพฤติกรรมในรูปแบบต่าง ๆ มาแล้วก็น่าจะลองผนวกเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีผลพลอยได้ที่งดงามในแง่การสร้างสรรค์สังคม

เมื่อเราเริ่มจุดประกายการรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในแต่ละตัวบุคคลได้แล้ว ก็ไม่ยากที่จะชักชวนกันขยายวงขึ้นไปในระดับที่กว้างขวางขึ้น ไม่ว่าจะระดับองค์กรหรือระดับชาติ ดังนั้นผมเห็นด้วยกับการที่เคยมี ผู้กล่าวไว้ว่า CSR (corporate social responsibility) ที่ยั่งยืนควรมีพื้นฐาน มาจาก ISR (individual social respon sibility) ครับ

ก็อะไรที่จะทำให้เราสุขใจมากไปกว่า "การให้" คุณว่ามั้ย !

 

ที่มา: วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4214  ประชาชาติธุรกิจ

 

 

 

 

aphondaworathan