http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

ปลุกอุตสาหกรรมร่วมรับผิดชอบสังคม วางแผนแม่บทเร่งลดกากของเสียจากโรงงาน

บทความ

ปลุกอุตสาหกรรมร่วมรับผิดชอบสังคม วางแผนแม่บทเร่งลดกากของเสียจากโรงงาน... โดย อนันตเดช พงษ์พันธุ์

จากกระแสรักษ์โลก กรีนเพลนเนท และบทเรียนจากกรณีของนิคมอุตสากรรมมาตาพุด ทำ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องใส่ใจต่อการกำนดกติกาให้โรงงานอุตสาหกรมมทั้งหายรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในภาคอุตสากรรมนั้นนอกจากกระบวนการผลิตที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมแล้ว กากจากโรงงาน ก็เป็นหนึ่งปัญหาที่กำลังทวีความรุนรแงมากขึ้น ตามภาวะการขยายตัวของงานอุตสาหกรรม

กากของเสียอุตสาหกรรม กฎหมายโรงงานเรียกว่า สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมายถึง "ของเสีย หรือสิ่งที่ไม่ใช้แล้วจากการประกอบกิจการโรงงานทุกอย่าง" (ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบ การผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การบำบัดมลพิษ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร/อุปกรณ์ การรื้อถอน/ ก่อสร้างอาคารภายในบริเวณโรงงาน) รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้าง ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ รวมถึงของเสียอันตราย ยกเว้นของเสียที่ไม่อันตรายที่เกิดจากอาคารสำนักงานและบ้านพักคนงาน เช่น หนังสือพิมพ์ เศษอาหาร ขยะมูลฝอยทั่วไป เป็นต้น

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับโรงงานอุต สาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้เปิด"โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว" ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องระยะเวลา 5 ปี โดยเปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการตั้งเป้าจะดึงผู้ประกอบการให้เข้า ร่วมกว่า 70,000 ราย ภายใน 5 ปี ทั้งนี้กระทรวงฯ กำลังร่วมมือกับทุกหน่วยงานของกระทรวงฯสถาบันเครือข่ายต่างๆ สำนักอุตสาหกรรมจังหวัดและนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศใส่ใจกับเรื่องการกำจัดกากอุตสาหกรรม

จากการรายงานข้อมูลล่าสุด (ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554) มีโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบทั่วประเทศ แล้วทั้งสิ้น 1,274 โรงงานคิดเป็น 47% โดยแบ่งเป็นโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจำนวน 189 โรงงาน และโรงงานที่อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรม 1,076 โรงงาน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจเห็นได้จากตัวเลขในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีโรงงานทั่วประเทศที่เข้าสู่ระบบเพียง 22.6% ณ ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 47 %

ล่าสุดมีโรงงานอุตสาหกรรม 20 ประเภทที่อยุ่ในแผนการกำจัดการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1.โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่น หรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน 2.การทำเยื่อจากไม้ หรือวัสดุอื่น 3.การทำกระดาษ กระดาษแข็ง หรือกระดาษที่ใช้ในการก่อสร้างชนิดที่ทำจากเส้นใย 4.การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งมิใช่ปุ๋ย 5.การทำปุ๋ยหรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ 6.การเก็บรักษาหรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ 7.การทำสีสำหรัยใช้ทา พ่น หรือเคลือบ 8.การทำน้ำมันชักเงา น้ำมันผสมสีหรือน้ำยาล้างสี 9.การทำเชลแล็ก แล็กเกอร์หรือผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ยาหรืออุด 10.การทำหมึกหรือคาร์บอนดำ 11.การทำผลิตภัณฑ์สำหรับใช้เป็นฉนวนหุ้มหม้อน้ำหรือกันความร้อน 12.โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม 13.การชุบเคลือบผิว 14.โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม 15.การนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ 16.การถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตเหล็ก หรือผลิตเหล็กกล้าขั้นต้น 17.การถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้นซึ่งมิใช่ขี้เหล็กหรือเหล็กกล้า 18.การสร้างประกอบ ดัดแปลงหรือเปลี่ยนสภาพรถยนต์หรือรถพ่วง 19.โรงงานประเภทการทา พ่นหรือเคลือบสี 20.โรงงานประเภทการทา พ่น หรือเคลือบเชลแล็ก แล็กเกอร์ หรือน้ำมันเคลือบเงา

ทั้งนี้แผนแม่บทการจัดการกากอุตสาหกรรม เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2555 อัตราการเพิ่มขึ้นของกากอุตสาหกรรมจะไม่เกิน 3% ต่อปี และภายในปี 2560 จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1% ต่อปี ซึ่งจะทำให้อีก 5-6 ปีข้างหน้า จะมีกากอันตราย (Hazardous Waste) ประมาณ 4.2 ล้านตันต่อปี และกากไม่อันตราย (Non-hazardous Waste) ประมาณ 28.6 ล้านตันต่อปี หรือเพิ่มขึ้นในปริมาณที่ลดลง จากปี 2554

"ที่ผ่านมากระทรวงฯดูแลเรื่องการจัดการกากอุตสาหกรรมให้เข้าระบบอย่างเข้มงวด พร้อมกับตรวจสอบตัวเลขที่แท้จริงของปริมาณกากอุตสาหกรรมที่ต้องเข้าระบบ ทั้งนี้มีเป้าหมายว่าโรงงานจำพวกที่ 3 หรือโรงงานขนาดใหญ่ทั้งหมดใน กทม. จะต้องเข้าสู่ระบบภายในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ ส่วนที่อยู่ต่างจังหวัด ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จำกัดจะมีการกำหนดให้ประเภทโรงงานที่มีกากของเสียอันตรายจำนวนมาก เข้าสู่ระบบเป็นลำดับแรกๆ ส่วนที่เหลือจะทยอยให้เข้าระบบภายใน 5 ปี โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ถ้าเข้าข่ายโรงงานประเภทที่มีกากอุตสาหกรรมอันตราย แต่ยังไม่เข้าระบบ จะไม่ต่อใบอนุญาตให้ "

เป้าหมายของการดำเนินงานนโยบายด้านการกำจัดกากอุตสาหกรรมคือการมีข้อมูลกาก อุตสาหกรรม และการดูแลควบคุมการกำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า ระบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมจะดีขึ้นเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแผนแม่บท 5 ด้านคือ 1. การส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม ได้ดำเนินงาน เพื่อลดการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิต2. การเพิ่มขีดความสามารถในการนำกากอุตสาหกรรมกลับมาใช้ซ้ำ หรือใช้ใหม่ 3. การเพิ่มขีดความสามารถในการกำกับดูแลรวมทั้งลดผลกระทบที่เกิดจากการฝังกลบ และปรับปรุงวิธีการและเทคโนโลยีที่ใช้กำจัดกากของกลุ่มบริษัทผู้รับกำจัดกากอุตสาหกรรม

4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบและกลไกในการกำกับดูแลการจัดการกากอุตสาหกรรม เช่น ปรับปรุงหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือการครอบครองกากของผู้รับกำจัดกากอุตสาหกรรม 5. สร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อกากอุตสาหกรรม และการสร้างเครือข่ายสังคมเพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังปัญหาจากกากอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมตามที่รกร้าง โดย ได้กำหนดให้ติดตั้งระบบ GPS กับรถยนต์ขนส่งกากของเสียอุตสาหกรรม ขณะนี้มีการติดตั้งจำนวน 40 คัน และติดตั้ง Server อีกจำนวน 1 ชุด ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องสำรองหรือเชื่อมโยงกับระบบเดิมที่ศูนย์ชลบุรี เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม คาดว่าจะมีการขยายผล ติดตั้งเพิ่มขึ้นอีกภายในปี2554

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะพิจารณาถึงการปรับแก้กฎหมายให้สามารถจัดตั้ง "โรงงานรวบรวมและขนถ่ายกากอุตสาหกรรม" โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมตั้งอยู่ เพื่อให้เกิดการรวบรวมของเสียอย่างเป็นระบบ และสามารถลดต้นทุนการขนส่ง และช่วยเหลือโรงงานขนาดเล็กที่มีของเสียปริมาณไม่มาก ได้มีการจัดการอย่างถูกต้อง

 

ที่มา: http://www.corehoononline.com/index.php/2010-04-19-03-30-47/2011-03-14-06-27-29/21642-2011-06-18-14-51-42

 

 

aphondaworathan