http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

ซีเอสอาร์ของผู้จัดการกองทุน "เอ็มเอฟซี" ทำมากกว่าบริหารพอร์ต

บทความ

ซีเอสอาร์ของผู้จัดการกองทุน "เอ็มเอฟซี" ทำมากกว่าบริหารพอร์ต

ชีวิตประจำวันในสำนักงานของคนในอาชีพ "ผู้จัดการกองทุน" คุณคิดว่า เขาทำอะไรกันบ้าง

สิ่ง ที่เราพอจินตนาการได้ คือ พวกเขาและเธอคงนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เกาะติดกับตัวเลข กราฟและแผนภูมิต่าง ๆ เพื่อคิดหาวิธีบริหารจัดการเงินของนักลงทุนที่ดูแลอยู่ให้มีผลตอบแทนและผล ประโยชน์สูงสุด ทุกลมหายใจคือ เงิน เงิน เงิน และก็เงิน

แต่ใน บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ธุรกิจที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมี "ดร.พิชิต อัคราทิตย์" กรรมการ ผู้จัดการ กุมบังเหียนดูแลทรัพย์สินสุทธิของกองทุนมูลค่า 2.34 แสนล้านบาทในเวลานี้

พนักงานในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแห่งนี้ไม่ได้มีแต่ "เงิน" ในทุก ลมหายใจเข้า-ออกเท่านั้น

ใน อีกมุมหนึ่ง พนักงานที่นี่ได้ใช้ความรู้ความสามารถทางการเงินที่มีอยู่จัดทำ โครงการเพื่อสังคมผ่านกองทุนเปิดหลายประเภท เพื่อระดมทุนไปทำกิจกรรมเพื่อสังคม ขณะเดียวกันก็สร้างดอกผลให้กับ ผู้ลงทุน

ณ บ่ายวันอาทิตย์ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้บริหารและพนักงานกว่า 10 ชีวิตจาก บลจ.เอ็มเอฟซี พร้อมสื่อมวลชนโขยงใหญ่เดินทางสู่ "ศูนย์เรียนรู้แม่ฟ้าหลวง หมู่บ้านโคนมพัฒนา ป่าละอู" จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อนำสิ่งของเครื่องใช้และเงินจำนวนหนึ่งไปมอบให้กับเด็กไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวกะเหรี่ยง ที่ย้ายถิ่นฐานจากดินแดนฝั่งตรงข้ามเทือกเขาตะนาวศรี มาพักอาศัยในแผ่นดินด้ามขวาน

เด็กเหล่านี้เป็นลูกหลานของ ชาวกะเหรี่ยงที่อพยพหนีตายจากการสู้รบทางการเมืองระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับ ชนกลุ่มน้อย พวกเขาไม่มีสิทธิในฐานะพลเมืองไทย ไม่มีโอกาสทางการศึกษาได้ทัดเทียมกับเด็กไทยทั่วไป

แต่ในศูนย์การ เรียนรู้แม่ฟ้าหลวง ที่ตั้งขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า เด็ก ๆ เหล่านี้จึงได้รับการศึกษาในหลักสูตรนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีครูพี่เลี้ยงคอยดูแล 2 ท่าน ด้วยความมุ่งหวังในหลักพื้นฐานว่า ขอให้เด็ก ๆ ได้อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ปลูกฝังความรักชาติไทยและสถาบันหลักของชาติ

ขณะที่เด็กกะเหรี่ยง เหล่านี้ยังสามารถนับถือศาสนาคริสต์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของ บรรพบุรุษ และยังสามารถรักษาเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ตนเองไว้ได้

ดร.พิชิต เล่าว่า ทุกปีบริษัทจะเลี้ยงปีใหม่ให้กับสื่อมวลชนอยู่แล้ว แต่ปีนี้เราก็อยากทำอะไรที่มันมีคุณค่าทางจิตใจร่วมกัน จึงได้คิดถึงการร่วมกันทำบุญกับ เด็ก ๆ และที่เลือกมาบริจาคของที่ศูนย์การเรียนรู้ฯแห่งนี้เพราะมีพนักงานในบริษัท ทราบจากครู ตชด.ว่าที่นี่ยังมีความขาดแคลน

แต่การบริจาคยังไม่ใช่ ทั้งหมดของงานด้านซีเอสอาร์ที่ เอ็มเอฟซีทำ และไม่ใช่สิ่งที่จะตัดสินกันได้อย่างฉาบฉวย ผิวเผินว่านี่คือ "ของจริง" หรือ "ของเทียม" หากยังไม่ได้ทราบถึง ต้นธารความคิดงานซีเอสอาร์ของเอ็มเอฟซีจากเอ็มดีบริษัทในบรรทัดต่อจากนี้

"ซี เอสอาร์ของเอ็มเอฟซี เราผูกกับกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์เป็นหลัก โดยกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุน ตามหลักศาสนาอิสลาม และส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่บริษัทได้จากกองทุนนี้จะ นำไปบริจาคช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ"

โดยเฉพาะด้านการศึกษา ดร.พิชิตเล่าต่อว่า เนื่องจากในบริษัทมีครูบาอาจารย์จำนวนมากที่สอนหนังสือตามสถาบันต่าง ๆ อยู่แล้ว เราจึงคิดทำกิจกรรมคืนสังคมด้วยการให้การศึกษาเป็นหลัก เพราะต้องการให้กับคนรุ่นต่อไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว และเป็นการสร้างในระดับโครงสร้างพื้นฐาน คือในเรื่องของ "คน"

ดร.พิชิต ยอมรับด้วยว่า การให้ความช่วยเหลือทางสังคมนั้นไม่ใช่เพียงการบริจาคอย่างเดียว เขาจึงเน้นย้ำกับทีมงานให้ใส่ใจกับการช่วยเหลือที่จะมีผลกับคนใน วงกว้าง และเริ่มต้นจากสิ่งที่ตน ถนัด

"โดยหลักการผมบอกกับน้อง ๆ ในบริษัทที่ดูแลงานด้านนี้ว่า เราจะนำทรัพยากรที่เรามีอยู่ไปให้กับคนที่เขาจำเป็นจริง ๆ

"เพราะ การให้อย่างนี้ หากไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องอาจไม่มีประโยชน์อะไร หลายเรื่องอาจเป็นเรื่องทางวัตถุ ซึ่งมีผลกระทบน้อยกว่าเรื่องซอฟต์แวร์ จึงบอกน้อง ๆ ว่า เมื่อเราทำถึงจุดหนึ่งแล้ว และเริ่มเข้าใจในสิ่งที่เราทำมากขึ้น ก็อยากให้ดูแลด้านซอฟต์แวร์อื่น ๆ ด้วย เช่น เรื่องครู

"สร้างโรงเรียนมันสร้างง่าย แต่สร้างครูมันยาก แต่ถ้าทำได้มันจะยั่งยืนกว่า ไม่ใช่การทำผิวเผิน อย่าไปสร้างอิฐ สร้างปูนทิ้งไว้แล้วมันจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าเราไม่ได้สร้างคน สร้างเยาวชนให้กับสังคม แล้วถ้ามีการติดตามประเมินผลให้มันชัดเจน มันก็จะมีประโยชน์กว่า

"ผมจะระวังมากในเรื่องการทำซีเอสอาร์แบบลงไป 100 โฆษณา ไปซะ 60 บาท ถ้าจะทำอย่างนั้นผมก็บอกว่าอย่าทำดีกว่า"

ขณะ เดียวกัน การบริจาคของเอ็มเอฟซี ก็มีโจทย์ที่คิดถึงความต่อเนื่อง ยั่งยืน ซึ่งโดยปกติเป็นโจทย์ที่ ดร.พิชิตบอกว่า คนทำงานผู้จัดการกองทุนไม่ค่อยคุ้ยเคยกัน สักเท่าไร เป็นเรื่องที่ฟันด์แมเนเจอร์ไม่ค่อยมีเวลาจะคิด

“แต่เป็นสิ่งที่ ประชาชนคนทั่วไปเขามีจิตสำนึกเรื่องแบบนี้ เพราะสังคมโดยทั่วไปจะอยู่ได้หรือไม่มันก็จำเป็นจะต้องคิดถึงเรื่องแบบนี้ ทั้งคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่น ต่อไป เราจึงพยายามคิดเท่าที่สติปัญญาเรามีอยู่" ดร.พิชิตกล่าว

ส่วนความ ช่วยเหลือที่ศูนย์การเรียนรู้ แม่ฟ้าหลวง ป่าละอู แม้จะมีปัญหาว่า ชนกลุ่มนี้จะอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง และอาจเป็นอุปสรรคต่อการให้ความช่วยเหลือแบบต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ ดร.พิชิตก็ตระหนักว่า เมื่อเราได้มีโอกาสให้เขามีชีวิตอยู่ในสังคมนี้ แม้จะไม่ได้ทำให้เขามีโอกาสเท่าเทียมกัน แต่อย่างน้อยถ้าทำให้เขามีทางออกได้บ้าง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นแม้จะไม่ได้มากมาย แต่ถ้าได้ช่วยให้เขาไม่ได้เป็นประเด็นปัญหาของสังคม ไม่ได้สร้างกลุ่มคนที่จะสร้างปัญหาให้กับคนส่วนใหญ่ต่อไป ผมก็คิดว่าประสบความสำเร็จพอสมควรแล้ว

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทำดีให้ สังคมจากคนทำธุรกิจบริหารหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่มีชีวิต ในแต่ละวันสาละวนกับอารมณ์โลภและอารมณ์กลัวของมนุษย์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 

aphondaworathan