มาตรฐาน Green Globeกับอุตสาหกรรมการเดินทางและท่องเที่ยว
บทความ
มาตรฐาน Green Globeกับอุตสาหกรรมการเดินทางและท่องเที่ยว
Green Globe เป็นโครงการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่จะทำการ certify ให้กับกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม ปัจจุบันมีสมาชิกโครงการอยู่ทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ จุดประสงค์ก็เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม และยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม
Green Globe 21 ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดย อุตสาหกรรมการเดินทางและท่องเที่ยว เพื่อสร้างกลไกสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ซึ่งการเดินทางและการท่องเที่ยวมีอยู่ในหลายรูปแบบ:
- โรงแรม
- ผู้จัดทัวร์ท่องเที่ยว
- สวนสาธารณะ
- รีสอร์ท
- ขนส่ง
- สนามบิน
- อื่น ๆ
เป็นที่ทราบกันดีว่าการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างผลกระทบอันสำคัญให้กับสภาพแวดล้อมและสังคมทั้งในสถานที่นั้น ๆ และสภาพแวดล้อมโลกได้ แผน Green Globe 21 มิได้เน้นไปที่ตัวระบบหรือวิธีการบริหารเท่านั้น แต่ยังเน้นไปที่การปฏิบัติต่อสังคมและสภาพแวดล้อมที่สามารถประเมินได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อถึงพัฒนาการของวิธีที่เหมาะสมโดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การขอการรับรอง Green Globe 21 องค์กรต้องแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากขึ้น ควบคู่ไปกับการประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจ การตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามโปรแกรม Green Globe 21 นั้นจะต้องถูกยอมรับโดยองค์กรที่มีศีลธรรม และมีความเป็นมืออาชีพในฐานะสมาชิกที่ห่วงใยต่อชุมชนที่ดำเนินกิจการอยู่ และมิใช่เพราะผลประโยชน์อื่น
Green Globe Brand เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีอำนาจมากสำหรับบริษัทและชุมชนที่ต้องการดึงดูดให้จำนวนนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ องค์กรที่นำ Green Globe 21 มาใช้จะช่วยให้องค์กรมีผลกำไรที่เพิ่มขึ้นบริษัท เอเจเอ รีจิสตร้าส์ จำกัด ได้รับการรับรองโดย Green Globe ให้สามารถออกใบรับรองได้ทั่วโลก และผลการตรวจประเมินและการออกใบรับรอง Green Globe นั้น จะเป็นหลักประกันความน่าเชื่อถือและการยอมรับของผู้ดำเนินกิจการภายในภาคอุตสาหกรรมนี้ได้
โดยมีประเด็นหลักของการจัดการ 9 เรื่อง ดังนี้
1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2. การลดปริมาณของเสีย การนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำไปแปรรูป
3. ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน
4. การจัดการเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำ
5. การจัดการเรื่องน้ำเสีย
6. การป้องกัน /การควบคุมคุณภาพของอากาศ และการควบคุมเสียง
7. การจัดซื้อที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
8. การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม
9. การลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์
ตัวอย่างโรงแรมในประเทศไทยที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองให้เป็นโรงแรมสีเขียวจาก Green Globe เช่น โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพฯ สยามสแควร์ ที่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานทั้งด้านพลังงาน น้ำ การแยกขยะ และมีการจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้แก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อร่วมลดภาวะโลกร้อน และโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลมซึ่งเป็นโรงแรมในเครืออินเตอร์คอนติเน็นตัลในกรุงเทพฯ แห่งแรกที่ผ่านมาตรฐาน Green Globe
ท่องเที่ยวสุขใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม เมื่อเลือกพักโรงแรม หรือบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Green Globe
ที่มา: http://www.oknation.net/blog/greenocean/2011/04/21/entry-1
http://www.ajathailand.com/products_cert_ttc_th.php
http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?