http://www.csrcom.com/
True ปลูกปัญญา

ความสำคัญในการทำ CSR (ตอนที่ 2)

บทความ

 

ความสำคัญในการทำ CSR (ตอนที่ 2)

 

ในการประกอบธุรกิจทั่วไป  จะพบว่าบางธุรกิจจะขาดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ  เช่น  การกดค่าจ้าง  การจ้างแรงงานเด็ก  การปล่อยของเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  เป็นต้น  ซึ่งบริษัทเหล่านั้นอ้างว่าทำไปเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ  เพื่อลดต้นทุนของธุรกิจ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา  ถ้าบริษัทเหล่านั้นคำนึงถึงสังคมหรือสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเป็นสิ่งที่ธุรกิจทำแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์  ทั้งในด้านผลประกอบการและการเข้าถึงเงินทุน  ซึ่งแต่เดิมนักธุรกิจส่วนใหญ่จะถูกมองว่าไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและสังคม  ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จากงานเขียนของ “Builtto Last” ของ James C.Colins. & Jerry J. Porras. ผลการสำรวจการเปรียบเทียบ 18 บริษัทที่ประสบความสำเร็จในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าการแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ประสบความสำเร็จสูงและต่อเนื่องยาวนาน  กับบริษัทที่ประสบความสำเรจบ้างเป็นบางครั้งบางคราว คือการที่บริษัทเหล่านี้มีเป้าหมายที่ไกลกว่าการมุ่งแสวงหากำไรอย่างเป็นรูปธรรมหรือมีนโยบายที่ชัดเจนด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบในเชิงมูลค่าได้ คือ เงินมูลค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐในปี 1926 ในบริษัทที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นกิจลักษณะ ซึ่งมีผลตอบแทนสูงถึง 6,356  ดอลลาร์สหรัฐในปี 1990  ในขณะที่บริษัทที่มุ่งเน้นเพียงกำไรเป็นหลัก  จะมีสถิติความสำเร็จแบบขึ้นๆ  ลงๆ  และไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงรายได้สูงเท่ากับบริษัทกลุ่มแรก  กล่าวคือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1926 นำมาสู่ผลตอบแทน 955 ดอลลาร์สหรัฐในปี 1990 ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีเป้าหมายมากกว่าเพียงการสร้างกำไรนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สูงถึง 6  เท่าของบริษัทที่สนใจแต่เรื่องกำไรแต่เพียงอย่างเดียว

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า  การสร้างความเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของธุรกิจมีความเชื่อมโยงกัน  โดยพบว่าบริษัทที่สามารถจัดการความสัมพันธ์และความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลต่อยอดขายมากถึง 4  เท่า  และมีการเจริญเติบโตของการจ้างงานถึง 8  เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากการทำ CSR ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม บริษัทที่มีบทบาทแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องมีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากกว่าบริษัทที่ไม่ทำเพื่อสังคม  และในนิตยสาร Fortune พบว่าความน่าเชื่อถือของบริษัทยังช่วยเพิ่มระยะเวลาที่บริษัทจะสามารถสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่สูงกวาค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ยังช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Toyota ที่เริ่มผลิตรถHybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ซึ่ง Hybrid ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ  สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท  บริษัท ฮิวเลตต์แพ็คการ์ด ที่เคให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลในอินเดยที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ได้คิดค้นเครื่องพริ้นเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องไฟฟ้า  ในที่สุดนวัตกรรมนี้ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัท และองค์กร Play pumps International โดยได้นำเอาความคิดเรื่องการทำเพลย์ปั๊มมาใช้แก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำที่อัฟริกาใต้ ซึ่งทำเพลย์ปั๊มเป็นม้าหมุนสำหรับเด็กที่ช่วยสูบน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคจากบ่อใต้ดินไปที่แทงค์เก็บน้ำ และทุกๆ ครั้งที่เด็กๆ  หมุนเล่นก็จะเป็นการปั๊มน้ำจากแทงค์น้ำนี้ โดยได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำในชุมชนเพื่อให้ทุกคนได้มีน้ำสะอาดใช้ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างทดของนวัตกรรมทางวัตถุอุปกรณ์ที่ให้ทั้งความสนุกสนานและประโยชน์  ให้พื้นที่เล่นสนุกแก่เด็กๆ ในขณะที่ยังให้น้ำสะอาดปลอดภัยแก่ชาวบ้านกว่าล้านคนในชุมชนห่างไกลหลายแห่ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่า CSR เป็นสิ่งที่เพิ่มต้นทุนของธุรกิจ แต่ในระยะยาวกลับปรากฎว่าการจัดกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิด CSR จะช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น มีโครงการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัทเมื่อปี 2547  ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ 30  สาขาเป็นหลอดประหยัดพลังงานใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพียง 8 เดือน การเก็บตัวเลขพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการดำเนินงาน CSR ได้ช่วยให้บริษัทลดของเสียในกระบวนการผลิตได้อย่างมากรวมทั้งในปัจจุบันกระแสการทำ CSR ของบริษัทข้ามชาติต่างๆ กำลังเป็นกระแสทั่วโลก ซึ่งบริษัทที่ทำกิจกรรม CSR ย่อมได้เปรียบกว่าบริษัทที่ไม่ทำ CSR ในด้านต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นผลให้รัฐวิสาหกิจเริ่มให้ความสนใจกับการทำกิจกรรม CSR ไม่ว่าจะเป็นธนาคารของรัฐต่างๆ การไฟฟ้า เป็นต้น ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการตอบแทนสังคมมากขึ้นอีกด้วย

ที่มา: http://www.csri.or.th/knowledge/csr/188  / สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI)

 

aphondaworathan